เอาหล่ะค่ะ เมื่อวาน ได้ฤกษ์ดี ได้ไปซื้อแหวนซะที
เรามาดูขั้นตอนการตัดสินใจกันค่ะ
อันดับแรก ตั้งงบไว้ในใจคร่าวๆค่ะ ว่าเรา หรือ ว่าที่สามีของเรา พอใจจะจ่ายที่เท่าไหร่ ถ้าเกิดคิดไม่ออกเลยจริงๆว่าควรจะตั้งงบเท่าไหร่ดี ก็เข้าไปศึกษาเว็บร้านขายเพชรต่างๆนะคะ หลายๆร้านจะมีราคาเพชรแบบที่เป็นเม็ดๆนะคะ มีตารางเอาไว้ให้ เราก็เข้าไปดูเปรียบเทียบแต่ละร้านไว้ อย่างน้อย เราก็จะพอกะราคาคร่าวๆได้ว่า ถ้างบสองหมื่น จะได้เพชรไซส์ประมาณนี้ สามหมื่น ได้เท่านี้ ห้าหมื่นได้เท่านี้ แสนนึงได้เท่านี้ ประมาณนี้ค่ะ
ราคาตัวเรือนก็จะประมาณหนึ่งหมื่น ถึง สอง หรือ สามหมื่น แล้วแต่ว่า เราจะเอาตัวเรือนแบบเรียบๆ หรือมีเพชรเม็ดแนวเล็กๆๆ มาประดับ จะเอาทองคำ หรือ white gold หรือ platinum
ทองคำก็ แน่นอน สีทอง ชอบมั๊ยล่ะ ส่วนตัวคิดว่า พอเอามาใส่กับเพชร มันดูตลก แต่ก็แล้วแต่คนชอบนะคะ white gold ทองขาว ร้านที่ขายบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็น white gold 18K มันก็คือเอาทองคำมาผสมกับ นิกเกิลหรือพาลาเดียม ใส่ๆไป มันก็จะลอก เห็นเป็นเนื้อทองคำข้างใน ก็เอาไปชุบใหม่ แค่นั้นเอง อ้วนขึ้น หรือ ผอมลง ก็ขยายออก หดเข้าได้ platinum แข็งแรง ไม่ลอก ไม่ดำ แต่เนื่องจากหายาก จึงแพงกว่า white gold น่าจะเท่าตัวเลยที่เดียว เปลี่ยนแปลงขนาด รูปร่างก็ไม่ได้ อ้วนขึ้น ผอมลง ซื้อใหม่อย่างเดียว
ส่วนตัวซื้อ white gold มาค่ะ ตอนแรกอยากได้ platinum เพราะที่อังกฤษ มีขายเยอะแยะ ราคาสูงกว่า white gold เยอะ แต่ไม่ถึงกับเท่าตัวค่ะ แต่ที่บ้านเราหายาก แพงมากด้วย อีกอย่าง กลัวซื้อ platinum มาแล้ว พอเราอ้วนขึ้น ใส่ไม่ได้ แล้วเราบอกสามีไป ว่าจัดมาให้ใหม่หน่อยสิคะที่รัก วงเก่าใส่ไม่ได้แล้ว แต่เกิดสามีบอก ไปลดความอ้วนดีกว่ามั๊ย คงจะมีเคืองแน่นอน
งบสองหมื่นต้นๆ ถึงสามปลายๆ น่าจะได้เพชรเม็ดประมาณสามสิบตังค์ งบสามหมื่นกลางๆถึงสี่หมื่นปลายๆ ก็จะได้ประมาณสีสิบตังค์ เราก็ลองเอาราคาของเพชรเม็ดที่อยากได้ มาบวกราคาตัวเรือนเข้าไป จ่ายไหวมั๊ย ถ้าไหวก็ตามนั้น ถ้าไม่ไหว ก็ลดขนาดเพชรลงมา
อันดับต่อไป ก็ลองเลือกแบบตัวเรือนที่เราชอบเอาไว้ซักสี่ห้าแบบ แล้วไปดูของจริงที่ร้าน หลายๆร้านก็ได้ค่ะ เอามาใส่เทียบกับนิ้วดูค่ะ เพราะบางแบบ เราชอบ สวยมาก แต่มันไม่ได้เข้ากับสภาพป้อมๆของนิ้วเราเลย ความป้อมของนิ้ว ข้อนิ้ว ของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ใส่แหวนแบบเดียวกัน ออกมาสวยไม่เท่ากัน
ไม่ต้องกลัวว่า ลองแล้วไม่ซื้อร้านจะว่า ว่าไม่ได้ค่ะ เราจะเอาตังค์ไปให้ แล้วของไม่ใช่ สอง สามบาท จะได้ตัดสินใจได้เลย เราก็ต้องเลือกที่ชอบจริงๆ ตัวเรือนบางแบบก็ออกแบบมาใส่เพชรเม็ดใหญ่ แต่เรามีงบซื้อเม็ดเล็ก มันก็ใส่กันไม่ได้ เราก็ต้องมีตัวเลือกไปให้ตัวเราเองด้วย
เอาล่ะค่ะ รู้วิธีดูเพชร แล้ว รู้ราคาคร่าวๆแล้ว เราก็พร้อมจะไปที่ร้านกันแล้ว
เราตกลงใจไปซื้อที่ร้านลีลาเจมส์
เหตุผลเพราะว่าชอบแบบของตัวเรือนแหวนที่ร้านนี้ และหลังจากเราไปเดินมาสี่
ห้า ร้าน ที่ร้านนี้ เค้าทำยังไงไม่รู้ เพชรดูใหญ่ และเด่นมาก
เช่นเพชรเม็ดกลางสามสิบตังค์ พอเอามาใส่ตัวเรือน ร้านอื่นดูเล็กมาก แต่ร้านนี้เพชรก็สามสิบตังค์เท่ากัน แต่ดูเม็ดเบ้อเริ่มเลย
วันที่ไป เป็นวันเสาร์ เราไปถึงประมาณเกือบเที่ยงค่ะ ก็มีคนอยู่ในร้านสองคน พอดีเรามีในใจไปแล้ว ว่าอยากจะได้อะไรแบบไหน ไปถึง เราก็คุยกับเค้าเลยว่า เราจะเอาตัวเรือน ประมาณนี้ เพชรไซส์ประมาณนี้ ก็มีตัวเลือกให้เลือก สองสามเม็ด อันที่มีในใจไปจากบ้าน ขายไปแล้วหนึ่ง ก็เลยเหลือ สองเม็ด เม็ดแรก 0.40 D VS1 แต่ยังไม่มีใบเซอร์ ร้านบอกจะมาอาทิตย์หน้า อีกเม็ดเป็น 0.41 E VVS2 มีใบเซอร์เลย
ราคาสองเม็ดนี้ไม่ต่างกัน ร้านบอกว่า D กับ E มองไม่ออกด้วยตาเปล่าแน่นอน ว่าต่างกัน เราก็ลองเทียบสองเม็ดนี้ ดูมันก็ดูไม่ออกจริงๆ เม็ด D ขาวกว่า แต่เม็ด E ความสะอาดมากกว่า ราคาขายคืน (ถ้าจะขายในอนาคต) ไม่ต่างกัน แต่แฟนอยากได้อันที่มีใบเซอร์เลย ในที่สุดก็เลยได้ E มาค่ะ
ตัวเรือนก็มีในใจไปแล้ว สองสามแบบ เอามาเทียบใส่นิ้วดู แล้ว ก็เลือกแบบที่ดูเข้ากันกับนิ้วเราที่สุด พอดีตัวเรือนแบบที่ชอบ ทางร้านเค้าใส่เพชร ห้าสิบตังค์เอาไว้ เราก็ชอบนะคะ แต่ว่าราคามันเกินงบไปมาก ก็เลยยืนยันเอาเพชรเม็ดที่ใกล้งบที่ตั้งไว้ ตอนได้แหวนกลับมา เพชรเม็ดเล็กกว่าแบบ แต่ก็ยังสวยเท่าเดิม พอใจมากๆเลยค่ะ
ที่ร้านจะมีกล้องส่องให้ดูว่า เพชรเม็ดที่เค้าหยิบขึ้นมา และใบเซอร์ที่เค้าหยิบขึ้นมาแล้วบอกว่าเป็นของเพชรเม็ดนี่น่ะจริง ดูได้จากเลเซอร์ที่ขอบเพชรจะมีเลขที่ GIA ต้องเป็นตัวเลขเดียวกันกับบนใบเซอร์
เราขอดูทั้งตอนที่มันยังเป็นเม็ดๆอยู่ และ ดูตอนที่เค้าเอาไปใส่บนตัวเรือนแล้ว
พอดีเพชรที่เราลือก และตัวเรือนที่เราชอบ มีอยู่ในสต็อกแล้วทั้งคู่ ใช้เวลาแค่ไม่ถึงสองชั่วโมงก็ได้แหวนกลับมาบ้านแล้วค่ะ บริการหลังการขายก็จนกว่า แหวนเราจะหายไปน่ะค่ะ ชุบฟรีครั้งแรก ครั้งต่อไปมีค่าใช้จ่าย ล้างฟรี ตลอดไป
ชอบที่ลีลาเจมส์อย่างนึงคือ เค้าจะไม่พยายามเชียร์ให้เราเอาแบบนั้น แบบนี้ เอาเพชรที่ใหญ่ขึ้น จ่ายตังค์ที่แพงขึ้น ทุกอย่างที่เราตัดสินใจเอง เอาแบบที่เราชอบ เอาเท่าที่เราพอใจจะจ่าย นี่น่าจะเป็นข้อดีของร้านนี้ และการศึกษาไปก่อนเข้าร้าน และมีในใจไปแล้ว ว่าอยากได้อะไรแบบไหน
ได้ความรู้กลับมาจากการคุยกับคนขายเล็กน้อย
เพชรเม็ดเล็กๆไม่ถึงกะรัต เค้าจะเน้น ที่ D E F และ ความสะอาดไม่ต่ำกว่า VS2แต่พอเม็ดใหญ่ขึ้น บางทีน้ำ H , I , J ก็เพียงพอ ยิ่งใหญ่มากมันก็ยิ่งแพงมากจะเอา D / ความสะอาด IF ก็คงเม็ดละหลายล้าน
การวางเพชรใส่ตัวเรือน ถ้าช่างชำนาญ แบบดี เพชรจะดูเด่นและใหญ่ ส่วนตัวเลยคิดว่า เวลาเลือกแหวนเพชร ให้เลือกจากร้านที่เราชอบตัวเรือน ราคาของเพชร แต่ละร้านไม่ต่างกันมาก เพราะเพชรเค้าจะมีราคากลางอยู่แล้ว มันคงต่างกันได้ไม่มากเท่าไหร่ในแต่ละร้าน
การหาข้อมูลก่อนไปซื้อ ก็เป็นตัวช่วยให้การตัดสินใจ ง่าย เร็ว และใกล้เคียงกับงบที่เราตั้งไว้ได้มากที่สุดค่ะ
Sunday, April 27, 2014
Thursday, April 17, 2014
ซื้อแหวนแต่งงาน เรื่องที่ดูเหมือนจะง่าย แต่ไม่ง่าย
ตามธรรมเนียมของฝรั่ง เค้าก็จะขอผู้หญิงแต่งงานด้วยแหวน ผู้หญิงก็จะใส่แหวนอันนั้น จนกว่าจะถึงวันแต่ง แล้วก็จะได้แหวนมาอีกวงตอนทำพิธีแต่งงาน
วงแรกก็จะถูกเรียกว่า แหวนหมั้น engagement ring วงที่สองก็จะถูกเรียกว่าแหวนแต่งงาน wedding ring
ทีนี้ ตอนที่ดิฉันถูกขอแต่งงาน (เขิลลลล) คุกเข่า แหวนเพชรเม็ดเป้ง ช่อดอกไม้ พลุไฟ flashmob ขอแต่งงาน ที่พูดมาทั้งหมด ไม่มี๊ (เสียงสูง) He ขอปากปล่าวฮ่ะ แป่ว
จนบัดนี้ เกือบห้าเดือนผ่านไป เราก็ยังคงเทียวดูแหวนกัน และยังตัดสินใจไม่ได้ซักที เพราะมันไม่ง่ายอย่างที่คิด เรานึกว่าเดินเข้าร้าน จ่ายตังค์ ก็จบ มันซับซ้อนกว่านั้นแฮะ
เราไปดูแหวน เอาแบบดูจริงจังนะคะ ที่อังกฤษ สองร้าน
ตอนแรกเราจะซื้อที่อังกฤษ เพราะมันดูโรแมนติก คือคุณชายขอแต่งงานตอนไปอังกฤษ (กรี๊ด เขินอ่ะ) ก็เลยจะซื้อแหวนกลับมาจากอังกฤษเลย แต่มีพนักงานคนนึง พอเค้ารู้ว่าเรามาจากเมืองไทย เค้าก็บอกว่ายูจะมาซื้อที่นี่ทำไม เพชรร่วงที่อังกฤษก็นำเข้ามาจากเมืองไทย เอามาประกอบตัวเรือนที่อังกฤษ แล้วอัพราคามาอีกหลายร้อยปอนด์ กลับไปซื้อที่บ้านยูเหอะ ถูกกว่า สรุปก็เลยไม่ได้ซื้อ แต่ต้องขอบคุณความจริงใจของพนักงานคนนั้นมาก พอดีตอนที่เราเข้าไปในร้าน เค้าบอกว่าลูกชายเค้ากำลังเที่ยวอยู่เมืองไทยแล้วชอบมาก เค้าก็เลยจะตามมาเที่ยวด้วย เค้าเลยโปรดเมืองไทยและคนไทยเป็นพิเศษ โชคดีจังเรา
ที่ไทย สามร้าน ตามคำแนะนำในเว็บ wedding in love และ หนังสือ We Magazine
ร้านแรก Proud Gems
เป็นร้านแรกที่เดินเข้าไป ร้านอยู่ Siam Discovery ชอบมากๆ ชอบการตกแต่งของร้าน ดูดี ดูแพง สมกับขายของแพง เจ้าหน้าที่ พูดคุยดีมาก เราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเพชร เจ้าหน้าที่ก็สอนเราเรื่อง 4C ว่าจะเลือกเพชรยังไง ราคาที่มันต่างกันเพราะอะไร สอนเราเป็นครึ่งชั่วโมงเกียวกับเพชร เอาเม็ดนั้นเม็ดนี้มาโชว์ให้ดู เราประทับใจกับร้านนี้มากๆ
ร้านสอง Iyara Gems
ร้านนี้อยู่ MBK ชั้นหนึ่ง ร้านไม่ได้เป็นร้านด้วยซ้ำ คือไม่ได้เป็นห้องๆน่ะค่ะ เป็นเคาน์เตอร์โค้งๆ สองอัน แบบของแหวนที่โชว์เราก็ไม่ได้ชอบ ไม่ได้ประทับใจอะไรกับร้านนี้ เท่าไหร่ค่ะ
ร้านสาม Leela Gems
เป็นห้องเล็กๆอยู่ใน MBK ชั้นสอง เราชอบแบบตัวเรือนของร้านนี้ แบบดูสวย แข็งแรง ทนทาน ตัวเรือนทำให้เพชรดูเด่นมาก ราคาน่าคบหากว่าร้านแรก คนขายก็พูดคุยเป็นกันเองดี เป็นน้องผู้หญิง ดูเด็กๆ
ล่าสุดไปเจอ Jubilee มีโปรโมชั่น ราคาดีมาก 45,900 เท่านั้น แต่เพชรกลางเล็กไปหน่อยแค่ 30 ตังค์ พอดีอยากได้ไม่ใหญ่มาก เอาแค่ซักสี่สิบนิดๆ หรือเกือบห้าสิบ น่ะค่ะ ไม่อยากจ่ายแพงกะแหวนเล็กๆ วงเดียว เอาตังค์ไปทำอย่างอื่นดีกว่า แต่ 30 ตังค์ มันก็เล็กไปนิ๊ด
จนถึงตอนนี้ ก็ยังตัดสินใจไม่ได้ ไม่รู้จะซื้อร้านไหนยังไงดี แต่ก็พอมีความรู้มากขึ้น ขอแชร์แบบชาวบ้านอย่างเราๆเข้าใจนะคะ
เอาเพชรเม็ดๆก่อนนะคะ
เพชรเป็นเม็ดๆขายตาม 4C คืออะไร
1. Cutting ก็คือเจียระไนเพชรแบบไหน เป็นรูปอะไร กลม เหลี่ยม หัวใจ หยดน้ำ ประมาณนี้ กี่เหลี่ยม หักเหแสงยังไง ขอบเพชรหนาหรือบาง แนวนี้ ส่วนใหญ่ที่ขายๆกันทุกวันนี้ จะบอกว่าเป็นแบบ Triple excellent อยากทราบมากกว่านี้ หาอ่านเพิ่มเติมเอาได้ค่ะ http://www.ajediam.com/diamond_cut_chart.html
*ปล ขอโพสเว็บภาษาอังกฤษ เพราะเว็บภาษาไทยส่วนใหญ่ที่หาเจอเป็นของร้านเพชร ขออนุญาตไม่โฆษณาค่ะ
2. Color ก็คือสีของเพชร จะเอาขาวแค่ไหน ขาวมากก็แพง ขาวน้อยก็ถูกลง เราซื้อเพชร เราก็คงอยากได้ที่มันขาวๆเนอะ ถ้าเพชรมันเหลือง ไปซื้อพลอยเหลืองใส่ดีกว่ามั๊ย ถูกกว่าเยอะ
ขาวสุด หรือที่เค้าเรียกกันเพชรน้ำ100 ก็คือ D น้ำ 99 ก็คือ E แล้วก็ขาวน้อยลงไปเรื่อยๆ จนถึง Z
ทีนี้เค้าก็จะแบ่งความขาวออกเป็นช่วงๆ
ช่วง D E F เรียกว่าช่วง colorless สีขาวมาก เราจะมองด้วยตาเปล่าไม่ออกว่ามันต่างกัน เพราะงั๊นจะซื้อ D หรือ E หรือ F ก็ไม่ต่างกัน
ช่วง G H I J เรียกว่าช่วง near colorless ก็มองไม่ออกว่าแต่ละสีมันต่างกัน
เกินจาก K ลงไปก็จะเป็น Faint yellow ไปจนถึง Z light yellow
อยากทราบมากกว่านี้ http://www.4diamond.com/4Cs/
ที่ Proud Gems เอา D กับ G มาเทียบให้เราดู ดูออกด้วยตาเปล่าเลยว่า มันขาวไม่เท่ากัน ส่วนตัว เราจึงจะเน้นที่ D - F เท่านั้นค่ะ
3. Clarity ก็คือความสะอาดของเพชร เพชรเป็นของมาจากธรรมชาติ เอาสะอาดไร้ตำหนิร้อยเปอร์เซนต์ทุกเม็ดก็คงเป็นไปไม่ได้ ก็เหมือนคนอ่ะค่ะ สวยแค่ไหน ก็ยังมีไฝ มีปาน แนวนั้น
FL หรือ IF ก็คือไร้ตำหนิ
VVS1 และ 2 มีตำหนิเล็กน้อย มองตาเปล่าไม่เห็น ใช้กล้องขยายสิบเท่าก็แทบจะมองไม่เห็น
VS1 และ 2 มีตำหนิเล็กน้อย มองตาเปล่าไม่เห็น มองเห็นด้วยกล้องขยายสิบเท่า
SI1 และ 2 มีตำหนิเล็กน้อย มองตาเปล่าเห็น
I1,2,3 มีตำหนิ มองตาเปล่าเห็นชัด
เราซื้อเพชร มันเป็น ของแพง แนว I1,2,3 คงไม่มีใครอยากได้หรอกเนอะ ถ้าจะซื้อ I1,2,3 ไปซื้อคริสตัลใส่เอาเหอะ
ส่วนตัว จะเอาแนว IF หรือ VVS ค่ะ ไม่รู้ว่าจะเป็นการจ่ายเงินแนวซื้อช้างเผือกหรือเปล่า แต่ช่างเถอะ ตอนนี้อาจแพงเกินไป แต่ในอนาคต อาจเป็นประโยชน์ก็ได้ ตอนนี้มีกำลังซื้อก็ซื้อไปก่อน
4. Carat คือเพชรหนักเท่าไหร่ เงาะชั่งเป็นกิโล ทองชั่งเป็นบาท เพชรก็ชั่งเป็นกะรัต แนวนี้ หนึ่งกะรัตเท่ากับ 200 มิลลิกรัม และเท่ากับ 100 point ภาษาไทยเรียก ตังค์
จะซื้อหนักแค่ไหนก็ตามกำลังทรัพย์ เล็กที่สุดเท่าที่เห็นขายเป็นเพชรเม็ดกลางคือ 20 point หรือ 20 ตังค์ แต่เล็กมากจนมองไม่ออก
เพชรต่างกันสิบตังค์ มองออกได้เลยด้วยตาเปล่า ที่ร้านเคยเอาสามสิบตังค์ กับสี่สิบตังค์มาเทียบให้ดูก็เห็นเลยว่าต่างกัน
คำแนะนำจากร้าน ถ้าจะซื้อ ห้าสิบตังค์ ให้ซื้อ สี่สิบ หรือ หกสิบไปเลย เพราะราคาเพชรห้าสิบตังค์จะเป็นราคาเพชรครึ่งกะรัต ก็จะเอาราคาเพชรกะรัตมาหารสอง ซึ่งจะแพงกว่าสี่สิบตังค์เกือบเท่าตัว แต่ถูกกว่าหกสิบตังค์ไม่เท่าไหร่ เพราะเพชรไม่ถึงห้าสิบตังค์จะถือว่าเป็นเพชรร่วง (ภาษาชาวบ้านอย่างอิชั้นคือเศษเพชรอ่ะค่ะ ฮ่าฮ่าฮ่า)จึงถูกกว่าเพชรครึ่งกะรัตมาก
เพชร premium size คือ เพชรเค้าจะแบ่งราคาเป็นช่วง 20 - 29 , 30 - 39, 40 - 49, 50 -59 ตังค์ แนวนี้ สมมติเราดู 40 - 49 ตังค์ เพชรที่ค่อนไปทางเลข 9 ก็จะเป็น premium size อย่าง 48,49 ตังค์ จะถูกกว่า 50 ตังค์เยอะมาก เพราะยังเป็นเลข 4 อยู่ ทั้งๆที่มองด้วยตาเปล่าแทบดูไม่ออกว่ามันไม่เท่ากัน เพชรพวกนี้จะหายาก แต่ถ้าสมมติตอนไปที่ร้านมีพวกนี้อยู่ก็น่าพิจารณาค่ะ
ราคาเพชรก็จะขึ้นอยู่กับ 4C นี้ ขาวมาก แต่ตำหนิเยอะ ก็อาจถูกกว่า ขาวน้อยหน่อยแต่ไม่มีตำหนิ ทำนองนี้ค่ะ
ทีนี้ร้านเพชรเค้าก็จะมีขายอยู่สองแบบคือ แบบที่มีตัวเรือนมีเพชรเรียบร้อย ชอบแบบที่เห็น เพชรเม็ดเท่าเห็นก็หยิบ จ่ายเงินเลย หรือ เอาตัวเรือนแบบนี้ แต่จะเอาเพชรเม็ดนี้ เค้าก็จะประกอบให้ใหม่
มีคนแนะนำว่า ถ้าเราซื้อเพชรที่ประกอบเป็นแหวนแล้ว เราจะส่องดูเพชรยาก ว่าตำหนิอะไรยังไง แต่ถ้าซื้อเป็นเม็ดก่อน แล้วเลือกตัวเรือนทีหลังจะส่องเพชรง่ายกว่า
ซื้อเพชรต้องมีใบเซอร์มั๊ย แล้วใบเซอร์เนี่ยมันใบเซอร์อะไร ก็ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นก็จะมีสองแบบคือใบเซอร์ร้านที่ขาย ออกให้ ว่าเพชรแท้นะ รับประกันคุณภาพนะ กลับมารับบริการหลังการขายได้ ถ้าร้านที่เราซื้อดังมาก น่าเชื่อถือมาก ใบเซอร์จากร้านก็เพียงพอ เช่นถ้าซื้อเพชรมาจาก De Beers หรือ Cartier ก็ไม่ต้องไปหาใบเซอร์จากที่อื่นแล้วล่ะค่ะ
อีกแบบคือใบเซอร์ของสถาบันที่เค้ารับประกันคุณภาพเพชร ที่ดังๆก็คือ GIA เค้าก็จะเอาเพชรไปตรวจแล้วก็ออกเป็นใบมาให้ว่าเพชรเม็ดนี้ cutting เป็นไง หนักเท่าไหร่ สะอาดเท่าไหร่ ตาม 4C น่ะค่ะ เราก็จะได้มั่นใจว่า เออ ที่ร้านบอกว่า เพชรเม็ดนี้ Color D นะ ความสะอด VVS นะ เชื่อได้จริงเพราะมีเอกสารกำกับมา เราจะไปซื้อตามร้านกะโหลกกะลาแถวไหนก็ได้ เพราะใบเซอร์จะเป็นตัวบอกคุณภาพเพชรที่เราพอใจจะจ่าย แต่ก็ระวังใบเซอร์ปลอม ถ้าเป็นใบเซอร์ของ GIA เข้าไปเช็คเว็บของ GIA ได้ใส่เบอร์ใบเซอร์เข้าไป เว็บจะบอกข้อมูลมาเลยว่าใบเซอร์ใบนี้มีจริงหรือเปล่า และข้อมูลตรงกันกับใบที่เรามีในมือมั๊ย เช็คที่นี่เลยค่ะ http://www.gia.edu/report-check-landing
ใบเซอร์เพชร จำเป็นมั๊ย ถ้าเราเชี่ยวมากเรื่องเพชร เจ๊คนขายบอก D VVS1 เราดูออกปุ๊บว่าเจ๊มั่ว ก็คงไม่จำเป็น แต่ชาวบ้านธรรมดาอย่างอิชั้นจำเป็นอ่ะค่ะ ซื้อหม้อหุงข้าว ตู้เย็น ไม่กี่บาท เรายังมีใบรับประกันบอกเลยค่ะ ว่าส่วนประกอบของที่เราใช้อยู่เนี่ย มันประกอบด้วยอะไรบ้าง ทำงานยังไง ซ่อมฟรีกี่ปี เพชรเม็ดใหญ่กว่าขี้ตาแมวนิดเดียว เม็ดละสี่ห้าหมื่น ยังไงก็ต้องขออะไรซักใบแหละ จะได้รู้ว่า สี่ห้าหมื่นที่จ่ายไปเนี่ย คุณสมบัติมันเป็นยังไง อีกอย่างได้ยินมาว่า ค่าใบเซอร์เนี่ย แค่สอง สามพันบาทเอง ไม่ได้แพงอะไร
เอาไว้ได้แหวนมาแล้วจะมาต่อภาคสองนะคะ
วงแรกก็จะถูกเรียกว่า แหวนหมั้น engagement ring วงที่สองก็จะถูกเรียกว่าแหวนแต่งงาน wedding ring
ทีนี้ ตอนที่ดิฉันถูกขอแต่งงาน (เขิลลลล) คุกเข่า แหวนเพชรเม็ดเป้ง ช่อดอกไม้ พลุไฟ flashmob ขอแต่งงาน ที่พูดมาทั้งหมด ไม่มี๊ (เสียงสูง) He ขอปากปล่าวฮ่ะ แป่ว
จนบัดนี้ เกือบห้าเดือนผ่านไป เราก็ยังคงเทียวดูแหวนกัน และยังตัดสินใจไม่ได้ซักที เพราะมันไม่ง่ายอย่างที่คิด เรานึกว่าเดินเข้าร้าน จ่ายตังค์ ก็จบ มันซับซ้อนกว่านั้นแฮะ
เราไปดูแหวน เอาแบบดูจริงจังนะคะ ที่อังกฤษ สองร้าน
ตอนแรกเราจะซื้อที่อังกฤษ เพราะมันดูโรแมนติก คือคุณชายขอแต่งงานตอนไปอังกฤษ (กรี๊ด เขินอ่ะ) ก็เลยจะซื้อแหวนกลับมาจากอังกฤษเลย แต่มีพนักงานคนนึง พอเค้ารู้ว่าเรามาจากเมืองไทย เค้าก็บอกว่ายูจะมาซื้อที่นี่ทำไม เพชรร่วงที่อังกฤษก็นำเข้ามาจากเมืองไทย เอามาประกอบตัวเรือนที่อังกฤษ แล้วอัพราคามาอีกหลายร้อยปอนด์ กลับไปซื้อที่บ้านยูเหอะ ถูกกว่า สรุปก็เลยไม่ได้ซื้อ แต่ต้องขอบคุณความจริงใจของพนักงานคนนั้นมาก พอดีตอนที่เราเข้าไปในร้าน เค้าบอกว่าลูกชายเค้ากำลังเที่ยวอยู่เมืองไทยแล้วชอบมาก เค้าก็เลยจะตามมาเที่ยวด้วย เค้าเลยโปรดเมืองไทยและคนไทยเป็นพิเศษ โชคดีจังเรา
ที่ไทย สามร้าน ตามคำแนะนำในเว็บ wedding in love และ หนังสือ We Magazine
ร้านแรก Proud Gems
เป็นร้านแรกที่เดินเข้าไป ร้านอยู่ Siam Discovery ชอบมากๆ ชอบการตกแต่งของร้าน ดูดี ดูแพง สมกับขายของแพง เจ้าหน้าที่ พูดคุยดีมาก เราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเพชร เจ้าหน้าที่ก็สอนเราเรื่อง 4C ว่าจะเลือกเพชรยังไง ราคาที่มันต่างกันเพราะอะไร สอนเราเป็นครึ่งชั่วโมงเกียวกับเพชร เอาเม็ดนั้นเม็ดนี้มาโชว์ให้ดู เราประทับใจกับร้านนี้มากๆ
ร้านสอง Iyara Gems
ร้านนี้อยู่ MBK ชั้นหนึ่ง ร้านไม่ได้เป็นร้านด้วยซ้ำ คือไม่ได้เป็นห้องๆน่ะค่ะ เป็นเคาน์เตอร์โค้งๆ สองอัน แบบของแหวนที่โชว์เราก็ไม่ได้ชอบ ไม่ได้ประทับใจอะไรกับร้านนี้ เท่าไหร่ค่ะ
ร้านสาม Leela Gems
เป็นห้องเล็กๆอยู่ใน MBK ชั้นสอง เราชอบแบบตัวเรือนของร้านนี้ แบบดูสวย แข็งแรง ทนทาน ตัวเรือนทำให้เพชรดูเด่นมาก ราคาน่าคบหากว่าร้านแรก คนขายก็พูดคุยเป็นกันเองดี เป็นน้องผู้หญิง ดูเด็กๆ
ล่าสุดไปเจอ Jubilee มีโปรโมชั่น ราคาดีมาก 45,900 เท่านั้น แต่เพชรกลางเล็กไปหน่อยแค่ 30 ตังค์ พอดีอยากได้ไม่ใหญ่มาก เอาแค่ซักสี่สิบนิดๆ หรือเกือบห้าสิบ น่ะค่ะ ไม่อยากจ่ายแพงกะแหวนเล็กๆ วงเดียว เอาตังค์ไปทำอย่างอื่นดีกว่า แต่ 30 ตังค์ มันก็เล็กไปนิ๊ด
จนถึงตอนนี้ ก็ยังตัดสินใจไม่ได้ ไม่รู้จะซื้อร้านไหนยังไงดี แต่ก็พอมีความรู้มากขึ้น ขอแชร์แบบชาวบ้านอย่างเราๆเข้าใจนะคะ
เอาเพชรเม็ดๆก่อนนะคะ
เพชรเป็นเม็ดๆขายตาม 4C คืออะไร
1. Cutting ก็คือเจียระไนเพชรแบบไหน เป็นรูปอะไร กลม เหลี่ยม หัวใจ หยดน้ำ ประมาณนี้ กี่เหลี่ยม หักเหแสงยังไง ขอบเพชรหนาหรือบาง แนวนี้ ส่วนใหญ่ที่ขายๆกันทุกวันนี้ จะบอกว่าเป็นแบบ Triple excellent อยากทราบมากกว่านี้ หาอ่านเพิ่มเติมเอาได้ค่ะ http://www.ajediam.com/diamond_cut_chart.html
*ปล ขอโพสเว็บภาษาอังกฤษ เพราะเว็บภาษาไทยส่วนใหญ่ที่หาเจอเป็นของร้านเพชร ขออนุญาตไม่โฆษณาค่ะ
2. Color ก็คือสีของเพชร จะเอาขาวแค่ไหน ขาวมากก็แพง ขาวน้อยก็ถูกลง เราซื้อเพชร เราก็คงอยากได้ที่มันขาวๆเนอะ ถ้าเพชรมันเหลือง ไปซื้อพลอยเหลืองใส่ดีกว่ามั๊ย ถูกกว่าเยอะ
ขาวสุด หรือที่เค้าเรียกกันเพชรน้ำ100 ก็คือ D น้ำ 99 ก็คือ E แล้วก็ขาวน้อยลงไปเรื่อยๆ จนถึง Z
ทีนี้เค้าก็จะแบ่งความขาวออกเป็นช่วงๆ
ช่วง D E F เรียกว่าช่วง colorless สีขาวมาก เราจะมองด้วยตาเปล่าไม่ออกว่ามันต่างกัน เพราะงั๊นจะซื้อ D หรือ E หรือ F ก็ไม่ต่างกัน
ช่วง G H I J เรียกว่าช่วง near colorless ก็มองไม่ออกว่าแต่ละสีมันต่างกัน
เกินจาก K ลงไปก็จะเป็น Faint yellow ไปจนถึง Z light yellow
อยากทราบมากกว่านี้ http://www.4diamond.com/4Cs/
ที่ Proud Gems เอา D กับ G มาเทียบให้เราดู ดูออกด้วยตาเปล่าเลยว่า มันขาวไม่เท่ากัน ส่วนตัว เราจึงจะเน้นที่ D - F เท่านั้นค่ะ
3. Clarity ก็คือความสะอาดของเพชร เพชรเป็นของมาจากธรรมชาติ เอาสะอาดไร้ตำหนิร้อยเปอร์เซนต์ทุกเม็ดก็คงเป็นไปไม่ได้ ก็เหมือนคนอ่ะค่ะ สวยแค่ไหน ก็ยังมีไฝ มีปาน แนวนั้น
FL หรือ IF ก็คือไร้ตำหนิ
VVS1 และ 2 มีตำหนิเล็กน้อย มองตาเปล่าไม่เห็น ใช้กล้องขยายสิบเท่าก็แทบจะมองไม่เห็น
VS1 และ 2 มีตำหนิเล็กน้อย มองตาเปล่าไม่เห็น มองเห็นด้วยกล้องขยายสิบเท่า
SI1 และ 2 มีตำหนิเล็กน้อย มองตาเปล่าเห็น
I1,2,3 มีตำหนิ มองตาเปล่าเห็นชัด
เราซื้อเพชร มันเป็น ของแพง แนว I1,2,3 คงไม่มีใครอยากได้หรอกเนอะ ถ้าจะซื้อ I1,2,3 ไปซื้อคริสตัลใส่เอาเหอะ
ส่วนตัว จะเอาแนว IF หรือ VVS ค่ะ ไม่รู้ว่าจะเป็นการจ่ายเงินแนวซื้อช้างเผือกหรือเปล่า แต่ช่างเถอะ ตอนนี้อาจแพงเกินไป แต่ในอนาคต อาจเป็นประโยชน์ก็ได้ ตอนนี้มีกำลังซื้อก็ซื้อไปก่อน
4. Carat คือเพชรหนักเท่าไหร่ เงาะชั่งเป็นกิโล ทองชั่งเป็นบาท เพชรก็ชั่งเป็นกะรัต แนวนี้ หนึ่งกะรัตเท่ากับ 200 มิลลิกรัม และเท่ากับ 100 point ภาษาไทยเรียก ตังค์
จะซื้อหนักแค่ไหนก็ตามกำลังทรัพย์ เล็กที่สุดเท่าที่เห็นขายเป็นเพชรเม็ดกลางคือ 20 point หรือ 20 ตังค์ แต่เล็กมากจนมองไม่ออก
เพชรต่างกันสิบตังค์ มองออกได้เลยด้วยตาเปล่า ที่ร้านเคยเอาสามสิบตังค์ กับสี่สิบตังค์มาเทียบให้ดูก็เห็นเลยว่าต่างกัน
คำแนะนำจากร้าน ถ้าจะซื้อ ห้าสิบตังค์ ให้ซื้อ สี่สิบ หรือ หกสิบไปเลย เพราะราคาเพชรห้าสิบตังค์จะเป็นราคาเพชรครึ่งกะรัต ก็จะเอาราคาเพชรกะรัตมาหารสอง ซึ่งจะแพงกว่าสี่สิบตังค์เกือบเท่าตัว แต่ถูกกว่าหกสิบตังค์ไม่เท่าไหร่ เพราะเพชรไม่ถึงห้าสิบตังค์จะถือว่าเป็นเพชรร่วง (ภาษาชาวบ้านอย่างอิชั้นคือเศษเพชรอ่ะค่ะ ฮ่าฮ่าฮ่า)จึงถูกกว่าเพชรครึ่งกะรัตมาก
เพชร premium size คือ เพชรเค้าจะแบ่งราคาเป็นช่วง 20 - 29 , 30 - 39, 40 - 49, 50 -59 ตังค์ แนวนี้ สมมติเราดู 40 - 49 ตังค์ เพชรที่ค่อนไปทางเลข 9 ก็จะเป็น premium size อย่าง 48,49 ตังค์ จะถูกกว่า 50 ตังค์เยอะมาก เพราะยังเป็นเลข 4 อยู่ ทั้งๆที่มองด้วยตาเปล่าแทบดูไม่ออกว่ามันไม่เท่ากัน เพชรพวกนี้จะหายาก แต่ถ้าสมมติตอนไปที่ร้านมีพวกนี้อยู่ก็น่าพิจารณาค่ะ
ราคาเพชรก็จะขึ้นอยู่กับ 4C นี้ ขาวมาก แต่ตำหนิเยอะ ก็อาจถูกกว่า ขาวน้อยหน่อยแต่ไม่มีตำหนิ ทำนองนี้ค่ะ
ทีนี้ร้านเพชรเค้าก็จะมีขายอยู่สองแบบคือ แบบที่มีตัวเรือนมีเพชรเรียบร้อย ชอบแบบที่เห็น เพชรเม็ดเท่าเห็นก็หยิบ จ่ายเงินเลย หรือ เอาตัวเรือนแบบนี้ แต่จะเอาเพชรเม็ดนี้ เค้าก็จะประกอบให้ใหม่
มีคนแนะนำว่า ถ้าเราซื้อเพชรที่ประกอบเป็นแหวนแล้ว เราจะส่องดูเพชรยาก ว่าตำหนิอะไรยังไง แต่ถ้าซื้อเป็นเม็ดก่อน แล้วเลือกตัวเรือนทีหลังจะส่องเพชรง่ายกว่า
ซื้อเพชรต้องมีใบเซอร์มั๊ย แล้วใบเซอร์เนี่ยมันใบเซอร์อะไร ก็ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นก็จะมีสองแบบคือใบเซอร์ร้านที่ขาย ออกให้ ว่าเพชรแท้นะ รับประกันคุณภาพนะ กลับมารับบริการหลังการขายได้ ถ้าร้านที่เราซื้อดังมาก น่าเชื่อถือมาก ใบเซอร์จากร้านก็เพียงพอ เช่นถ้าซื้อเพชรมาจาก De Beers หรือ Cartier ก็ไม่ต้องไปหาใบเซอร์จากที่อื่นแล้วล่ะค่ะ
อีกแบบคือใบเซอร์ของสถาบันที่เค้ารับประกันคุณภาพเพชร ที่ดังๆก็คือ GIA เค้าก็จะเอาเพชรไปตรวจแล้วก็ออกเป็นใบมาให้ว่าเพชรเม็ดนี้ cutting เป็นไง หนักเท่าไหร่ สะอาดเท่าไหร่ ตาม 4C น่ะค่ะ เราก็จะได้มั่นใจว่า เออ ที่ร้านบอกว่า เพชรเม็ดนี้ Color D นะ ความสะอด VVS นะ เชื่อได้จริงเพราะมีเอกสารกำกับมา เราจะไปซื้อตามร้านกะโหลกกะลาแถวไหนก็ได้ เพราะใบเซอร์จะเป็นตัวบอกคุณภาพเพชรที่เราพอใจจะจ่าย แต่ก็ระวังใบเซอร์ปลอม ถ้าเป็นใบเซอร์ของ GIA เข้าไปเช็คเว็บของ GIA ได้ใส่เบอร์ใบเซอร์เข้าไป เว็บจะบอกข้อมูลมาเลยว่าใบเซอร์ใบนี้มีจริงหรือเปล่า และข้อมูลตรงกันกับใบที่เรามีในมือมั๊ย เช็คที่นี่เลยค่ะ http://www.gia.edu/report-check-landing
ใบเซอร์เพชร จำเป็นมั๊ย ถ้าเราเชี่ยวมากเรื่องเพชร เจ๊คนขายบอก D VVS1 เราดูออกปุ๊บว่าเจ๊มั่ว ก็คงไม่จำเป็น แต่ชาวบ้านธรรมดาอย่างอิชั้นจำเป็นอ่ะค่ะ ซื้อหม้อหุงข้าว ตู้เย็น ไม่กี่บาท เรายังมีใบรับประกันบอกเลยค่ะ ว่าส่วนประกอบของที่เราใช้อยู่เนี่ย มันประกอบด้วยอะไรบ้าง ทำงานยังไง ซ่อมฟรีกี่ปี เพชรเม็ดใหญ่กว่าขี้ตาแมวนิดเดียว เม็ดละสี่ห้าหมื่น ยังไงก็ต้องขออะไรซักใบแหละ จะได้รู้ว่า สี่ห้าหมื่นที่จ่ายไปเนี่ย คุณสมบัติมันเป็นยังไง อีกอย่างได้ยินมาว่า ค่าใบเซอร์เนี่ย แค่สอง สามพันบาทเอง ไม่ได้แพงอะไร
เอาไว้ได้แหวนมาแล้วจะมาต่อภาคสองนะคะ
Wednesday, April 2, 2014
จะแต่งงานกะชาวต่างชาติ ยุ่งแท้หนอ (เอกสารขั้นสาม)
เอาละ ได้เอกสารมาแล้ว จะได้แต่งงานแล้วววววววว เย้
เราก็ต้องไปที่สำนักงานเขต (สำหรับคนที่อยู่กรุงเทพ) หรือ อำเภอ (สำหรับคนตจว) เพื่อไปจดทะเบียนสมรส ถ้าแต่งกับคนไทย ไปที่ไหนก็ได้ค่ะ แต่ถ้าแต่งกับชาวต่างชาติ ข้อมูลจากหลายเว็บจะบอกว่าควรโทรไปสอบถามก่อน เพราะบางแห่งเค้าไม่ค่อยมีประสบการณ์ตรงกับการดูแล คนไทยที่แต่งกับต่างชาติ ก็อาจขลุกขลักเล็กน้อย
เราได้ข้อมูลมาว่า บางรักเชี่ยวมาก เรื่องจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ เพราะงั๊นไปได้เลย แต่ไปเช้าหน่อย เพราะเห็นว่าวันนึงรับจำนวนจำกัด บางรักเค้าดังมาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้วเรื่องจดทะเบียนสมรส สนใจดู Facebook ของสำนักงานเขตบางรักที่ link นี้ค่ะ https://www.facebook.com/register.bangrak
ทีนี้บ้านเราอยู่ไกลจากบางรัก ประมาณคนละมุมของจังหวัด เราก็เลยพยายามหาข้อมูลที่อื่น
สำนักงานเขตดอนเมือง เราโทรไปหาเจ้าหน้าที่ แล้วได้คำตอบว่า เราและว่าที่สามี ต้องพาพยานไป สองคน ล่ามหนึ่งคน รวมห้าคนที่ต้องไปพร้อมกัน เราเป็นล่ามให้ตัวเองไม่ได้ เพราะเดี๋ยวแปลเข้าข้างตัวเอง ควรโทรนัดก่อนล่วงหน้า เผื่อนายอำเภอติดภารกิจ
สำนักงานเขตหลักสี่ ไปสองคนก็ได้ หรือพาไปได้เท่าที่จะหาได้ อย่างอื่นเดี๋ยวไปหาเพิ่มเติมเอาแถวนั้น คิดว่าหลักสี่ คงมีต่างชาติไปจดบ่อยน่ะค่ะ เพราะใกล้กรมการกงสุล คงมีเจ้าหน้าที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีคงจะพอเป็นล่ามให้ได้ แต่ถ้าเป็นภาษาอื่น เราคงต้องหาล่ามไปเอง
เอาล่ะค่ะ ขอเล่าวันที่ไปจดทะเบียนสมรส เราเลือกที่หลักสี่ เพราะใกล้บ้าน และดูจะรู้ว่าแต่งงานกับชาวต่างชาติต้องทำยังไง แล้วพอเราไปถึงจริงๆ เค้าก็เชี่ยวชาญจริงๆน่านแหละ ถ้าใครไม่ได้สนใจเรื่องว่าสำนักงานเขตต้องชื่อเป็นมงคลแนวบางรัก ก็มาที่หลักสี่ได้ค่ะ เจ้าหน้าที่ก็เป็นมิตรมากค่ะ คนก็ไม่เยอะ ไม่ต้องรอคิวนาน
ตอนที่ไปถึงก็สิบโมงครึ่ง คนไม่เยอะเลยค่ะ ไปติดต่อที่ประชาสัมพันธ์ว่าจะมาจดทะเบียนสมรส เจ้าหน้าที่ก็ขอดูเอกสาร Affirmation of freedom to marry พร้อมคำแปล แล้วก็ให้เอกสารเรามาสี่แผ่น บอกให้กรอก แล้วเอากลับมายื่นใหม่ (เจ้าหน้าที่น่ารักมากค่ะ เป็นมิตร และยิ้มแย้มมาก)
แผ่นแรกเป็นกระดาษ A4 ปกติ เป็นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส เราก็กรอกชื่อเราเป็นผู้ยื่นคำร้อง และจะจดทะเบียนสมรสกับใคร เลขบัตรประชาชนอะไร กรณีของเรา ก็กรอกเลขpassport ลงไป แล้วก็เซ็นซื่อสองคน แค่นี้เองค่ะ ไม่ได้เยอะอะไร
แผ่นที่สองเป็นกระดาษB4 ยาวกว่าหน่อย ใบนี้จะเป็นใบที่แฟนเราต้องกรอก แต่เค้ากรอกเองน่าจะลำบากค่ะ มันต้องเป็นภาษาไทย เราก็ต้องกรอกให้ ใบนี้จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับแฟนเรา ชื่ออะไร เกิดวันไหน พ่อ แม่ชื่ออะไร ทำงานอะไร ได้เงินเดือนเท่าไหร่ ข้อมูลก็คือเหมือนใน Affirmation of freedom to marry นั่นแหละค่ะ ซ้ำซ้อนเล็กน้อย แต่ก็จะมีเพิ่มเติมก็คือ อยู่เมืองไทยมานานกี่ปี เข้าออกเมืองไทยมาแล้วกี่รอบ รู้จักกับเรามานานเท่าไหร่ เจอกันครั้งแรกที่ไหน เคยอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยามั๊ย มีลูกมั๊ย ประมาณนี้ค่ะ ขอแนะนำว่าตอนกรอกให้เล่าให้แฟนฟังด้วยว่ากรอกอะไรไปมั่ง เพราะตอนไปเจอเจ้าหน้าที่ เค้าจะถามข้อมูลในนี้ค่ะ ตอนเรากรอก เราลืมเล่า เราก็กรอกไปตามใจฉันเลย แต่พอดีเป็นความจริงทั้งหมด ต่อให้ไม่ได้เล่าให้ฟังก็ตอบได้ตรงกันค่ะ (จำไม่ได้ล่ะ มีเคือง โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับเรา อิอิอิ)
แผ่นที่สาม จะเป็นแผ่นเล็กๆ ประมาณ 1/4 ของ A4 จะเป็นคำถามให้เราเลือก เช่น จะใช้นาง หรือ นางสาว แต่งงานแล้วจะใช้นามสกุลใคร เคยอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยามั๊ย มีลูกมั๊ย จะแสดงทรัพย์สินก่อนแต่งงานมั๊ย ประมาณนี้ค่ะ เราก็ตอบไป
คำแนะนำ 1 เรื่องเปลี่ยนนามสกุล เพื่อนก็แต่งงานกับชาวต่างชาติค่ะ และเดินทางบ่อย เพื่อนแนะนำให้ใช้นาง และ นามสกุลสามีไปเลย คือถ้าเราจะต้องไปอังกฤษบ่อยๆแน่นอน มันจะง่ายมากตอนขอวีซ่าค่ะ อีกอย่างถ้าเราจะต้องมีส่วนในการรับประโยชน์ จาก ประกัน บำนาญ เป็นนางและนามสกุลเค้า มันก็ง่ายกับชีวิตกว่าค่ะ สมมติ นะคะสมมติ เกิดไปด้วยกันไม่รอด กฏหมายบ้านเราก็เปิดกว้างให้กลับมาใช้นามสกุลเดิม และนางสาวอยู่แล้ว (สาธู้ คุณพระคุณเจ้า เจ้าขา ของหนูขอแบบรอดๆไปตลอดตลอดนะค้า)
คำแนะนำ 2 เรื่องแสดงทรัพย์สิน ก็ตามสะดวกนะคะ แต่ถ้าเราไม่ได้ขนาดมีกิจการเป็นของตัวเอง มีเงินเป็นหลายล้าน มีบ้านสิบๆหลัง ที่ดินหลายร้อยไร่ กลัวเค้าฮุบ ก็ไม่ต้องก็ได้มั๊งคะ ทำสัญญาใจกันเองสองคนก็น่าจะเพียงพอ เพราะการต้องแสดงทรัพย์สิน ตอนจดทะเบียนเนี่ยรู้สึกต้องมีทนาย หรือเป็นเอกสารทางกฏหมายมายืนยันด้วยน่ะค่ะ แต่อันนี้ไม่ชัวร์นะคะ จุดนี้ไม่ได้ศึกษา เนื่องจากเป็นคนตัวเปล่าเลย ทรัพย์สินไม่มีอะไรซักอย่าง เลยไม่มีอะไรให้ต้องแสดงค่ะ
แผ่นที่สี่ก็จะเป็นใบเล็กๆ บอกเราว่าต้องแนบเอกสาร อะไรบ้าง
เอกสารที่ต้องแนบ
สำเนาบัตรประชาชนของเรา สองชุด
สำเนาทะเบียนบ้านของเรา หนึ่งชุด
สำเนาpassport ของแฟนเรา หน้าแรก และหน้าที่เป็นวีซ่าล่าสุด หนึ่งชุด
สำเนา Affirmation of freedom to marry พร้อมคำแปล สองชุด
สำเนาบัตรประชาชนของพยาน และล่าม คนละหนึ่งชุด
(เรามี คุณแม่ไปด้วย แล้วก็เพื่อนไปด้วยอีกหนึ่งคน คุณแม่ก็เป็นพยาน แล้วก็เพื่อนเป็นได้ทั้งล่ามและพยานค่ะ ที่เขตหลักสี่ ยอม แต่เขตดอนเมืองไม่ยอม แม่เนี่ยแหละค่ะ พยานที่เจ๋งที่สุด ช้านยอม เอาลูกสาวช้านไปเล้ย ฮ่าฮ่า)
Note 1:เจ้าหน้าที่จะขอใบเสร็จรับเงินค่ารับรองเอกสารจากกรมการกงสุลด้วย (ซึ่งไม่มีแจ้งไว้ในเอกสารไหนเลยซักที่ ว่าจะต้องเอาด้วย) และจะเก็บไปเลย ไม่คืนเรา เพราะฉะนั้น เตรียมไปด้วย ถ้าอยากเก็บหลักฐาน ให้ถ่ายเอกสารเก็บไว้นะคะ
กรอกเอกสารทั้งหมด แนบเอกสารทั้งหมด ก็เดินกลับไปที่เดิม เจ้าหน้าที่ก็จะให้บัตรคิวมาค่ะ
เดินไปนั่งรอ แป๊บเดียวมากๆ เพราะเราเป็นคิวต่อไปเลย เจ้าหน้าที่ก็จะให้แฟนเรา นั่งกับล่าม ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ให้เรามานั่งรอที่เก้าอี้ด้านหลัง แล้วเค้าก็จะถาม ถาม ถาม และถาม (ถามเยอะมากๆ) คำถามก็คือรายละเอียดในเอกสารขนาด B4 ที่กรอกไปน่านแหละค่ะ
ถามกันจนเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะเรียกเราไป ถามเกี่ยวกับ จะใช้นาง หรือ นางสาว แต่งงานแล้วจะใช้นามสกุลใคร เคยอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยามั๊ย มีลูกมั๊ย จะแสดงทรัพย์สินก่อนแต่งงานมั๊ย ประมาณนี้ค่ะ เราก็ตอบไป จากนั้นเซ็นเอกสาร สอง สามอัน ก็เป็นอันเรียบร้อย
จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะขอเวลา บันทึกข้อมูล เราก็เลยไปทานข้าว กลับมา เจ้าหน้าที่ ก็เตรียมเอกสาร ใบทะเบียนสมรส ที่เป็นรายละเอียดในการสมรส เพื่อให้เราไปใช้ในการเปลี่ยนนามสกุล และใบสำคัญการสมรสสองแผ่น ที่มีขอบสวยๆ หน้าตาเหมือนกันสองแผ่น เจ้าหน้าที่ก็จะให้เอาเอาทะเบียนสมรสไปถ่ายเอกสารสามชุด แล้วเอากลับมาคืน เจ้าหน้าที่ก็จะประทับตราว่าเป็นเอกสารที่สำเนาถูกต้องจากของจริง ให้เรามาหมดเลยสามใบ ตอนเห็นชื่อตัวเองในทะเบียนสมรส รู้สึกแปลกๆ งงๆ เราไม่โสดแล้วใช่ม๊ายเนี่ย
เอกสารที่ได้คืนมาก็จะเป็น สำเนาของ Affirmation of freedom to marry พร้อมคำแปล ที่มีแสตมป์ของอำเภอว่าถ่ายจากต้นฉบับจริง เจ้าหน้าที่บอกว่า บางที ตม จะเรียกตรวจ เก็บไว้ดีๆ
แล้วก็จะมี ทะเบียนสมรส อันนี้ เราจะได้มาสามใบค่ะ จะเป็นกระดาษ A4 ที่บันทึกข้อมูล ว่าใคร แต่งกับใคร เลขบัตรประชาชนอะไร แต่งงานแล้วใช้คำนำหน้าอะไร นามสกุลอะไร ประมาณนี้ค่ะ อันนี้สำคัญเก็บดีๆ ถ้าใครจะเปลี่ยนนามสกุล เพราะที่เขต เค้าจะใช้ค่ะ
แล้วก็จะมี ใบสำคัญการสมรส ให้สองใบ หน้าตาเหมือนกัน เจ้าหน้าที่เน้นย้ำนักหนาว่า ห้ามเอาไปเคลือบ เพราะออกให้ได้หนเดียว และสถานทูตก็ไม่รับเอกสารที่เคลือบพลาสติก
อันนี้คือทะเบียนสมรส อันนี้คือใบสำคัญการสมรส
ค่าจดทะเบียนสมรส 30 บาทเท่านั้น แต่ที่หลักสี่เค้ามีปกใส่ใบสำคัญการสมรสขาย เล่มละ 800 บาท ก็คิดว่าราคาสูงพอควร แต่ก็ซื้อมาเพราะแม่บอกว่า อะไร ที่มันทำได้ครั้งเดียว ซื้อได้วันนี้วันเดียว ก็ซื้อไปเถอะ กลับมาวันหน้า มันก็ไม่ใช่แล้ว แล้วก็ซื้อซองพลาสติกขนาดพอดีกับใบสำคัญการสมรสมาอีกหนึ่งอัน 20 บาท เพราะเพื่อนบอกว่า เวลาเอาเอกสารไปยื่นขอวีซ่า กลับมาเยินเลยทุกที ซองพลาสติกจำเป็น สรุปค่าเสียหาย วันนี้ 850 บาทค่ะ
เสร็จสิ้นภารกิจ การจะเป็นสะใภ้UK ตามกฎหมายด้วยเงินเกือบเจ็ดพันบาท เวลาที่เสียไปเกือบสามวัน ในที่สุด มีสามีแล้วจ้าาาาาาาาา
หมายเหตุ เหตุผลที่แจกแจงเรื่องเงินให้ฟัง เพราะมีหลายคนอยากจ้าง agent ค่ะ ให้เค้าจัดการให้ทั้งหมด มันก็ดีนะคะ ง่ายดี แต่อยากให้ได้ทราบว่าถ้าทำเอง มันจะเป็นเงินเท่าไหร่ ถ้าagent จะคิดเงินเรา จะได้พอกะได้ว่ามันสมเหตุสมผลมั๊ย เพื่อนเคยไปถามแถวเพลินจิต เค้าคิดประมาณหมื่นสอง ส่วนตัวคิดว่า ไม่แพง ถ้าเค้าจัดการให้ทั้งหมด บวกค่าธรรมเนียมทั้งหมด (ทำเองก็ประมาณเจ็ดพัน) รวมถึงค่ารถที่พาเราไปทุกที่ด้วย ถามด้วยนะคะ ว่าพาไปจัดการเรื่องเปลี่ยนนามสกุลด้วยหรือเปล่า ถ้ารวมด้วยก็ไม่แพงแน่นอนค่ะ แต่ถ้าเกินหมื่นสอง คิดว่าแพงเกินไปค่ะ
เราก็ต้องไปที่สำนักงานเขต (สำหรับคนที่อยู่กรุงเทพ) หรือ อำเภอ (สำหรับคนตจว) เพื่อไปจดทะเบียนสมรส ถ้าแต่งกับคนไทย ไปที่ไหนก็ได้ค่ะ แต่ถ้าแต่งกับชาวต่างชาติ ข้อมูลจากหลายเว็บจะบอกว่าควรโทรไปสอบถามก่อน เพราะบางแห่งเค้าไม่ค่อยมีประสบการณ์ตรงกับการดูแล คนไทยที่แต่งกับต่างชาติ ก็อาจขลุกขลักเล็กน้อย
เราได้ข้อมูลมาว่า บางรักเชี่ยวมาก เรื่องจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ เพราะงั๊นไปได้เลย แต่ไปเช้าหน่อย เพราะเห็นว่าวันนึงรับจำนวนจำกัด บางรักเค้าดังมาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้วเรื่องจดทะเบียนสมรส สนใจดู Facebook ของสำนักงานเขตบางรักที่ link นี้ค่ะ https://www.facebook.com/register.bangrak
ทีนี้บ้านเราอยู่ไกลจากบางรัก ประมาณคนละมุมของจังหวัด เราก็เลยพยายามหาข้อมูลที่อื่น
สำนักงานเขตดอนเมือง เราโทรไปหาเจ้าหน้าที่ แล้วได้คำตอบว่า เราและว่าที่สามี ต้องพาพยานไป สองคน ล่ามหนึ่งคน รวมห้าคนที่ต้องไปพร้อมกัน เราเป็นล่ามให้ตัวเองไม่ได้ เพราะเดี๋ยวแปลเข้าข้างตัวเอง ควรโทรนัดก่อนล่วงหน้า เผื่อนายอำเภอติดภารกิจ
สำนักงานเขตหลักสี่ ไปสองคนก็ได้ หรือพาไปได้เท่าที่จะหาได้ อย่างอื่นเดี๋ยวไปหาเพิ่มเติมเอาแถวนั้น คิดว่าหลักสี่ คงมีต่างชาติไปจดบ่อยน่ะค่ะ เพราะใกล้กรมการกงสุล คงมีเจ้าหน้าที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีคงจะพอเป็นล่ามให้ได้ แต่ถ้าเป็นภาษาอื่น เราคงต้องหาล่ามไปเอง
เอาล่ะค่ะ ขอเล่าวันที่ไปจดทะเบียนสมรส เราเลือกที่หลักสี่ เพราะใกล้บ้าน และดูจะรู้ว่าแต่งงานกับชาวต่างชาติต้องทำยังไง แล้วพอเราไปถึงจริงๆ เค้าก็เชี่ยวชาญจริงๆน่านแหละ ถ้าใครไม่ได้สนใจเรื่องว่าสำนักงานเขตต้องชื่อเป็นมงคลแนวบางรัก ก็มาที่หลักสี่ได้ค่ะ เจ้าหน้าที่ก็เป็นมิตรมากค่ะ คนก็ไม่เยอะ ไม่ต้องรอคิวนาน
ตอนที่ไปถึงก็สิบโมงครึ่ง คนไม่เยอะเลยค่ะ ไปติดต่อที่ประชาสัมพันธ์ว่าจะมาจดทะเบียนสมรส เจ้าหน้าที่ก็ขอดูเอกสาร Affirmation of freedom to marry พร้อมคำแปล แล้วก็ให้เอกสารเรามาสี่แผ่น บอกให้กรอก แล้วเอากลับมายื่นใหม่ (เจ้าหน้าที่น่ารักมากค่ะ เป็นมิตร และยิ้มแย้มมาก)
แผ่นแรกเป็นกระดาษ A4 ปกติ เป็นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส เราก็กรอกชื่อเราเป็นผู้ยื่นคำร้อง และจะจดทะเบียนสมรสกับใคร เลขบัตรประชาชนอะไร กรณีของเรา ก็กรอกเลขpassport ลงไป แล้วก็เซ็นซื่อสองคน แค่นี้เองค่ะ ไม่ได้เยอะอะไร
แผ่นที่สองเป็นกระดาษB4 ยาวกว่าหน่อย ใบนี้จะเป็นใบที่แฟนเราต้องกรอก แต่เค้ากรอกเองน่าจะลำบากค่ะ มันต้องเป็นภาษาไทย เราก็ต้องกรอกให้ ใบนี้จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับแฟนเรา ชื่ออะไร เกิดวันไหน พ่อ แม่ชื่ออะไร ทำงานอะไร ได้เงินเดือนเท่าไหร่ ข้อมูลก็คือเหมือนใน Affirmation of freedom to marry นั่นแหละค่ะ ซ้ำซ้อนเล็กน้อย แต่ก็จะมีเพิ่มเติมก็คือ อยู่เมืองไทยมานานกี่ปี เข้าออกเมืองไทยมาแล้วกี่รอบ รู้จักกับเรามานานเท่าไหร่ เจอกันครั้งแรกที่ไหน เคยอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยามั๊ย มีลูกมั๊ย ประมาณนี้ค่ะ ขอแนะนำว่าตอนกรอกให้เล่าให้แฟนฟังด้วยว่ากรอกอะไรไปมั่ง เพราะตอนไปเจอเจ้าหน้าที่ เค้าจะถามข้อมูลในนี้ค่ะ ตอนเรากรอก เราลืมเล่า เราก็กรอกไปตามใจฉันเลย แต่พอดีเป็นความจริงทั้งหมด ต่อให้ไม่ได้เล่าให้ฟังก็ตอบได้ตรงกันค่ะ (จำไม่ได้ล่ะ มีเคือง โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับเรา อิอิอิ)
แผ่นที่สาม จะเป็นแผ่นเล็กๆ ประมาณ 1/4 ของ A4 จะเป็นคำถามให้เราเลือก เช่น จะใช้นาง หรือ นางสาว แต่งงานแล้วจะใช้นามสกุลใคร เคยอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยามั๊ย มีลูกมั๊ย จะแสดงทรัพย์สินก่อนแต่งงานมั๊ย ประมาณนี้ค่ะ เราก็ตอบไป
คำแนะนำ 1 เรื่องเปลี่ยนนามสกุล เพื่อนก็แต่งงานกับชาวต่างชาติค่ะ และเดินทางบ่อย เพื่อนแนะนำให้ใช้นาง และ นามสกุลสามีไปเลย คือถ้าเราจะต้องไปอังกฤษบ่อยๆแน่นอน มันจะง่ายมากตอนขอวีซ่าค่ะ อีกอย่างถ้าเราจะต้องมีส่วนในการรับประโยชน์ จาก ประกัน บำนาญ เป็นนางและนามสกุลเค้า มันก็ง่ายกับชีวิตกว่าค่ะ สมมติ นะคะสมมติ เกิดไปด้วยกันไม่รอด กฏหมายบ้านเราก็เปิดกว้างให้กลับมาใช้นามสกุลเดิม และนางสาวอยู่แล้ว (สาธู้ คุณพระคุณเจ้า เจ้าขา ของหนูขอแบบรอดๆไปตลอดตลอดนะค้า)
คำแนะนำ 2 เรื่องแสดงทรัพย์สิน ก็ตามสะดวกนะคะ แต่ถ้าเราไม่ได้ขนาดมีกิจการเป็นของตัวเอง มีเงินเป็นหลายล้าน มีบ้านสิบๆหลัง ที่ดินหลายร้อยไร่ กลัวเค้าฮุบ ก็ไม่ต้องก็ได้มั๊งคะ ทำสัญญาใจกันเองสองคนก็น่าจะเพียงพอ เพราะการต้องแสดงทรัพย์สิน ตอนจดทะเบียนเนี่ยรู้สึกต้องมีทนาย หรือเป็นเอกสารทางกฏหมายมายืนยันด้วยน่ะค่ะ แต่อันนี้ไม่ชัวร์นะคะ จุดนี้ไม่ได้ศึกษา เนื่องจากเป็นคนตัวเปล่าเลย ทรัพย์สินไม่มีอะไรซักอย่าง เลยไม่มีอะไรให้ต้องแสดงค่ะ
แผ่นที่สี่ก็จะเป็นใบเล็กๆ บอกเราว่าต้องแนบเอกสาร อะไรบ้าง
เอกสารที่ต้องแนบ
สำเนาบัตรประชาชนของเรา สองชุด
สำเนาทะเบียนบ้านของเรา หนึ่งชุด
สำเนาpassport ของแฟนเรา หน้าแรก และหน้าที่เป็นวีซ่าล่าสุด หนึ่งชุด
สำเนา Affirmation of freedom to marry พร้อมคำแปล สองชุด
สำเนาบัตรประชาชนของพยาน และล่าม คนละหนึ่งชุด
(เรามี คุณแม่ไปด้วย แล้วก็เพื่อนไปด้วยอีกหนึ่งคน คุณแม่ก็เป็นพยาน แล้วก็เพื่อนเป็นได้ทั้งล่ามและพยานค่ะ ที่เขตหลักสี่ ยอม แต่เขตดอนเมืองไม่ยอม แม่เนี่ยแหละค่ะ พยานที่เจ๋งที่สุด ช้านยอม เอาลูกสาวช้านไปเล้ย ฮ่าฮ่า)
Note 1:เจ้าหน้าที่จะขอใบเสร็จรับเงินค่ารับรองเอกสารจากกรมการกงสุลด้วย (ซึ่งไม่มีแจ้งไว้ในเอกสารไหนเลยซักที่ ว่าจะต้องเอาด้วย) และจะเก็บไปเลย ไม่คืนเรา เพราะฉะนั้น เตรียมไปด้วย ถ้าอยากเก็บหลักฐาน ให้ถ่ายเอกสารเก็บไว้นะคะ
กรอกเอกสารทั้งหมด แนบเอกสารทั้งหมด ก็เดินกลับไปที่เดิม เจ้าหน้าที่ก็จะให้บัตรคิวมาค่ะ
เดินไปนั่งรอ แป๊บเดียวมากๆ เพราะเราเป็นคิวต่อไปเลย เจ้าหน้าที่ก็จะให้แฟนเรา นั่งกับล่าม ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ให้เรามานั่งรอที่เก้าอี้ด้านหลัง แล้วเค้าก็จะถาม ถาม ถาม และถาม (ถามเยอะมากๆ) คำถามก็คือรายละเอียดในเอกสารขนาด B4 ที่กรอกไปน่านแหละค่ะ
ถามกันจนเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะเรียกเราไป ถามเกี่ยวกับ จะใช้นาง หรือ นางสาว แต่งงานแล้วจะใช้นามสกุลใคร เคยอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยามั๊ย มีลูกมั๊ย จะแสดงทรัพย์สินก่อนแต่งงานมั๊ย ประมาณนี้ค่ะ เราก็ตอบไป จากนั้นเซ็นเอกสาร สอง สามอัน ก็เป็นอันเรียบร้อย
จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะขอเวลา บันทึกข้อมูล เราก็เลยไปทานข้าว กลับมา เจ้าหน้าที่ ก็เตรียมเอกสาร ใบทะเบียนสมรส ที่เป็นรายละเอียดในการสมรส เพื่อให้เราไปใช้ในการเปลี่ยนนามสกุล และใบสำคัญการสมรสสองแผ่น ที่มีขอบสวยๆ หน้าตาเหมือนกันสองแผ่น เจ้าหน้าที่ก็จะให้เอาเอาทะเบียนสมรสไปถ่ายเอกสารสามชุด แล้วเอากลับมาคืน เจ้าหน้าที่ก็จะประทับตราว่าเป็นเอกสารที่สำเนาถูกต้องจากของจริง ให้เรามาหมดเลยสามใบ ตอนเห็นชื่อตัวเองในทะเบียนสมรส รู้สึกแปลกๆ งงๆ เราไม่โสดแล้วใช่ม๊ายเนี่ย
เอกสารที่ได้คืนมาก็จะเป็น สำเนาของ Affirmation of freedom to marry พร้อมคำแปล ที่มีแสตมป์ของอำเภอว่าถ่ายจากต้นฉบับจริง เจ้าหน้าที่บอกว่า บางที ตม จะเรียกตรวจ เก็บไว้ดีๆ
แล้วก็จะมี ทะเบียนสมรส อันนี้ เราจะได้มาสามใบค่ะ จะเป็นกระดาษ A4 ที่บันทึกข้อมูล ว่าใคร แต่งกับใคร เลขบัตรประชาชนอะไร แต่งงานแล้วใช้คำนำหน้าอะไร นามสกุลอะไร ประมาณนี้ค่ะ อันนี้สำคัญเก็บดีๆ ถ้าใครจะเปลี่ยนนามสกุล เพราะที่เขต เค้าจะใช้ค่ะ
แล้วก็จะมี ใบสำคัญการสมรส ให้สองใบ หน้าตาเหมือนกัน เจ้าหน้าที่เน้นย้ำนักหนาว่า ห้ามเอาไปเคลือบ เพราะออกให้ได้หนเดียว และสถานทูตก็ไม่รับเอกสารที่เคลือบพลาสติก
อันนี้คือทะเบียนสมรส อันนี้คือใบสำคัญการสมรส
ค่าจดทะเบียนสมรส 30 บาทเท่านั้น แต่ที่หลักสี่เค้ามีปกใส่ใบสำคัญการสมรสขาย เล่มละ 800 บาท ก็คิดว่าราคาสูงพอควร แต่ก็ซื้อมาเพราะแม่บอกว่า อะไร ที่มันทำได้ครั้งเดียว ซื้อได้วันนี้วันเดียว ก็ซื้อไปเถอะ กลับมาวันหน้า มันก็ไม่ใช่แล้ว แล้วก็ซื้อซองพลาสติกขนาดพอดีกับใบสำคัญการสมรสมาอีกหนึ่งอัน 20 บาท เพราะเพื่อนบอกว่า เวลาเอาเอกสารไปยื่นขอวีซ่า กลับมาเยินเลยทุกที ซองพลาสติกจำเป็น สรุปค่าเสียหาย วันนี้ 850 บาทค่ะ
เสร็จสิ้นภารกิจ การจะเป็นสะใภ้UK ตามกฎหมายด้วยเงินเกือบเจ็ดพันบาท เวลาที่เสียไปเกือบสามวัน ในที่สุด มีสามีแล้วจ้าาาาาาาาา
หมายเหตุ เหตุผลที่แจกแจงเรื่องเงินให้ฟัง เพราะมีหลายคนอยากจ้าง agent ค่ะ ให้เค้าจัดการให้ทั้งหมด มันก็ดีนะคะ ง่ายดี แต่อยากให้ได้ทราบว่าถ้าทำเอง มันจะเป็นเงินเท่าไหร่ ถ้าagent จะคิดเงินเรา จะได้พอกะได้ว่ามันสมเหตุสมผลมั๊ย เพื่อนเคยไปถามแถวเพลินจิต เค้าคิดประมาณหมื่นสอง ส่วนตัวคิดว่า ไม่แพง ถ้าเค้าจัดการให้ทั้งหมด บวกค่าธรรมเนียมทั้งหมด (ทำเองก็ประมาณเจ็ดพัน) รวมถึงค่ารถที่พาเราไปทุกที่ด้วย ถามด้วยนะคะ ว่าพาไปจัดการเรื่องเปลี่ยนนามสกุลด้วยหรือเปล่า ถ้ารวมด้วยก็ไม่แพงแน่นอนค่ะ แต่ถ้าเกินหมื่นสอง คิดว่าแพงเกินไปค่ะ
จะแต่งงานกะชาวต่างชาติ ยุ่งแท้หนอ (เอกสารขั้นสอง)
ขั้นสอง
หลังจากได้ เอกสาร Affirmation of freedom to marry พร้อมแสตมป์ (ราคาแพงสุดในสามโลก) มาจากสถานทูตอังกฤษแล้ว เราก็ต้องจัดการแปลเป็นภาษาไทย
*Note 1: ถ้าได้กลับไปอ่านขั้นที่หนึ่ง จะทราบว่า link ของสถานทูตอังกฤษ ณ เมษายน 2557 จะไม่ใช่
Affirmation of freedom to marry แล้ว เป็น Affirmation of Marital Status ถ้าเช็คกับสถานทูตได้แล้ว ว่าตกลงจะเอาอะไรกันแน่ ก็เอาตามนั้นนะคะ
ถ้าคุณเรียนจบจากนอก หรือ จบเอกอังกฤษ เอกการแปล ก็แปลเองเลยค่ะ เซ็นรับรองคำแปลถูกต้อง ก็เซ็นเองเลยค่ะ หรือถ้าไม่อยากเซ็นเอง ไปหาคนที่ตำแหน่งการงานน่าเชื่อถือมาเซ็นให้ก็ได้นะคะ
ถ้าใครไม่แน่ใจในความสามารถในการแปลของตัวเอง ก็ต้องหาจ้างเอาค่ะ ได้ข่าวตึกมหาทุน ใกล้สถานทูตอังกฤษ หรือ บ้านเรือนไทย ใกล้ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ก็มีรับแปล หรือ ไปแปลที่กรมการกงสุลได้เลยค่ะ เค้าจะมีเจ้าหน้าที่บริการ ราคาสูงกว่าข้างนอก แต่รับรองความถูกต้องตามแบบที่กรมการกงสุลจะเอาแน่นอน
หลังจากแปลเสร็จ ก็นำต้นฉบับภาษาอังกฤษที่รับรองโดยสถานทูตอังกฤษ และฉบับแปลภาษาไทย ไปรับรองที่กองสัญชาติฯ กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ
สถานทูตอังกฤษ มืออาชีพค่ะ หลังจากเราได้รับ Affirmation of freedom to marry คืนมาจากเจ้าหน้าที่ จะมีใบแทรกเป็นภาษาอังกฤษ กลับมาให้ค่ะ ว่าจะต้องเอาไปรับรองที่ไหน
*Note 2: ตอนที่เราทำเรื่อง บ้านเมืองไม่สงบเล็กน้อย กรมการกงสุล ย้ายที่ทำการชั่วคราวไปที่ Esplanade รัชดา ไกลบ้านมากกกกกก เปิด 8.00 - 16.00 เท่านั้น จะเอาเอกสารแบบด่วนรับกลับในวันเดียว รับแค่ 100 คนต่อวัน แต่ถ้าจะกลับมารับอีกสองวันทำการ ก็รับเอกสารถึงบ่ายสอง
ขอเแชร์ประสบการณ์วันที่ไปขอรับรองเอกสารนะคะ นานนนนนนนนน มาก เสียเวลาไปห้าชั่วโมง
ก่อนไปที่กรมการกงสุล ให้download เอกสารมากรอกก่อนเลยค่ะ จะได้ไม่ต้องไปเสียเวลากรอกที่นั่น
http://www.consular.go.th/main/th/form/1405/21210-คำร้องขอรับรองเอกสาร.html
ถ้าจะไปทำแทนว่าที่สามี ก็เอาภาษาไทย แล้วให้เค้าเซ็นมอบอำนาจในใบนั้นเลย แต่ถ้าว่าที่สามีจะไปเอง (เราก็ไปเป็นเพื่อนอยู่ดี) ก็ให้เอาภาษาอังกฤษ
เรื่องของเรื่องคือ คนที่จะขอรับรองเอกสารไม่ใช่เรานะคะ เพราะเอกสาร
Affirmation of freedom to marry เป็นชื่อของว่าที่สามี การเอาไปแปล และขอรับรอง จึงเป็นหน้าที่ของว่าที่สามี ถ้าเราไปทำให้ ก็คือการทำแทน จึงต้องมีการมอบอำนาจ
กรณีมอบอำนาจ
กรอกเอกสาร ภาษาไทย พร้อมลายเซ็นของว่าที่สามี มอบอำนาจให้เรา ดูตามเอกสารจะเข้าใจค่ะ
ก๊อปปี้เอกสารดังนี้(พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง)
- passport ของว่าที่สามี หน้าที่มีรูปและ หน้าวีซ่าล่าสุด 1 ชุด
- บัตรประชาชนของเรา 1 ชุด
วันไปต้องเอาpassport และบัตรประชาชนตัวจริงไปด้วย เจ้าหน้าที่ขอดู
- ใบเสร็จรับเงินจากสถานทูต ที่จ่ายค่าคำร้องขอAffirmation of freedom to marry เจ้าหน้าที่ขอดูค่ะ
กรณีว่าที่สามีไปเอง
กรอกเอกสารภาษาอังกฤษ
ก๊อปปี้เอกสารดังนี้(พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง)
- passport ของว่าที่สามี หน้าที่มีรูปและ หน้าวีซ่าล่าสุด 1 ชุด
วันไปต้องเอาตัวจริงไปด้วย เจ้าหน้าที่ขอดู
- ใบเสร็จรับเงินจากสถานทูต ที่จ่ายค่าคำร้องขอAffirmation of freedom to marry เจ้าหน้าที่ขอดูค่ะ
สรุปก่อนออกจากบ้าน ตรวจให้มั่นใจว่าหนึ่งชุดเอกสารต้องมีดังนี้
1. ใบคำร้อง
2. สำเนา passport ของว่าที่สามี หน้าที่มีรูปและ หน้าวีซ่าล่าสุด 1 ชุด พร้อมตัวจริง
3. และ / หรือ สำเนาบัตรประชาชนของเรา 1 ชุดพร้อมตัวจริง
4. Affirmation of freedom to marry ฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมคำแปลภาษาไทย(เอาเฉพาะตัวจริง ไม่ต้องถ่ายเอกสาร)
5. ใบเสร็จรับเงินจากสถานทูต ที่จ่ายค่าคำร้องขอAffirmation of freedom to marry
เราไปถึงที่กรมการกงสุลตั้งแต่ เจ็ดโมงสามสิบห้า มีคนต่อแถวรอที่หน้าประตูแล้ว เกือบสามสิบคน มีคนนั่งรอตามเก้าอี้อีกเกือบยี่สิบ เราเลยไปยืนต่อแถว
ยืนไปจนถึงแปดโมงห้านาที ประตูเปิด เดินเข้าไปก็เจอเจ้าหน้าที่นั่งรอตรวจความเรียบร้อยของเอกสาร และให้บัตรคิว คนที่่รอรับเลย จะได้คิวสีชมพู คนที่จะรับกลับอีกสองวันข้างหน้าจะได้คิวสีฟ้า จุดนี้ใช้เวลาไม่เกินห้านาที ตอนนั้นคิดในใจ ดีจังเร็วจัง แป๊บเดียวคงได้กลับบ้าน หารู้ไม่
(คนที่จะรับกลับอีกสองวันข้างหน้า รอจ่ายเงิน รับใบเสร็จ แล้วกลับได้เลย จุดนี้ ไม่เกินครึ่งชั่วโมง)
หลังจากนั้นก็ไปนั่งรอ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจความถูกต้องของคำแปล ณ จุดนี้ งง นิดหน่อย เพราะว่าเห็นคนที่ได้คิวหลังเรา แต่ได้เอกสารกลับออกมาก่อน ส่วนใหญ่เพื่อให้เอามาแก้ ก็เลยงงว่า เจ้าหน้าที่เค้ามีขั้นตอนการตรวจยังไง ไม่ตรวจตามคิวเหรอ หรือว่า เอกสารง่ายๆ ตรวจก่อน งง นั่งรอไปก็งงไป อยากวีนก็ไม่รู้จะวีนยังไง กับใคร เลยหายใจเข้าหายใจออกลึกๆ แล้วอ่านหนังสือไป
ตอนนั้นก็พยายามมองโลกในแง่ดี คิดว่า เออ ของเรานานคงแปลว่า ทุกอย่างโอเค แต่ปล๊าววว (เสียงสูงมาก) เก้าโมงสิบห้า เจ้าหน้าที่ เรียกชื่อเรา บอกว่ามีแก้ไข ตามดินสอซึ่งวงไว้ (เยอะมาก) เอาละเหวย ทำยังไงดี จะกลับไปแก้ที่บ้านเหรอ ไกลมากเลยนะ เก้าโมงกว่า รถติดแล้วด้วย เลยตัดสินใจเดินไปที่เคาน์เตอร์รับแปลของกรมการกงสุล เสียไปห้าร้อยบาท จริงๆก็มีคนรับแปล เดินเต็ดเตร่ กระซิบเบาๆกับผู้คนแถวนั้นว่ารับแปล แต่ตอนเรานั่งรอ เห็นเจ้าหน้าที่เดินเอาออกมาให้ตาคนนั้นแก้ เราเลยไม่ไว้ใจ
(จริงๆที่เราแปลไปก็ไม่ได้ผิดในแง่ของเนื้อหา แต่ไม่ครบมากกว่า คือต้องมีคำว่า คำแปลอยู่บนหัวกระดาษ และจะเอาคำแปลทุกอณูในเอกสารค่ะ ต้องแปลแม้แต่ แสตมป์ ซึ่งต้องเรียกว่าตราประทับ ต้องบอกด้วยว่ามันนูนไม่นูน วันที่ในตราประทับ ก็ยังต้องใส่ไป ลายเซ็นก็ยังต้องใส่ แต่ห้ามเซ็นใหม่ และให้เขียนว่า ลายมือชื่อ พวก disclaimer ใต้แสตมป์ก็ต้องแปล คือทุกสิ่งที่เห็นจริงๆ เดี๋ยวจะพยายามแปะตัวอย่างให้ดูดีกว่า เผื่อจะเอาไปใช้ได้นะคะ)
ตัวอย่างการแปลที่เห็น คือการแปลโดยเจ้าหน้าที่แผนกรับแปลของกรมการกงสุลค่ะ รับรองได้ว่าเป็นแบบที่กงสุลต้องการแน่นอน
รอเค้าแปลไปสี่สิบห้านาที ก็เอากลับไปส่งที่เดิมตอนนั้นสิบโมงกว่าแล้ว ก็รอเค้ากลับไปตรวจใหม่อีกรอบ อีกครึ่งชั่วโมงก็กลับออกมา และเอาเอกสารไปส่งเจ้าหน้าที่เพื่อจ่ายเงิน ก็รอเอาใบเสร็จรับเงิน เสียไปแปดร้อยบาท ค่ารับรองเอกสารจะเอกสารละ สองร้อยบาท ไม่ด่วน ถ้าด่วนก็สี่ร้อย ของเรามีสองแผ่น ภาษาไทย และอังกฤษ ก็เป็นแปดร้อยบาท จุดนี้ก็รอรับกือบครึ่งชั่วโมง ได้ใบเสร็จตอนสิบเอ็ดโมงนิดๆ พร้อมกับเสียงสวรรค์จากเจ้าหน้าที่ว่า อีกสองชั่วโมงมารับนะครับ นานได้อีก
โชคดีที่ตอนนั้นกรมการกงสุลอยู่ที่เอสพลานาด เดินห้างสองชั่วโมงไม่ใช่เรื่องยาก เสียอย่างเดียวเอสพลานาดไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจให้เดิน แต่ก็ยังลากขาไปมาจนสองชั่วโมงจนได้ กลับมารับตอนอีกห้านาทีบ่ายโมง ได้เอกสารอันเดิมกลับมาพร้อมสติกเกอร์จากกรมการกงสุล พร้อมลายเซ็น แปะมาแผ่นละอัน เดินกลับออกมา ยิ้มแก้มปริ จะได้แต่งงานแล้วเว้ยยยย
ณ จุดนี้ เสียเงินไปแล้ว เกือบห้าพันบาท เพื่อเอกสารสองแผ่น แม่บอกว่า ถ้าแต่งกับคนไทย บัตรประชาชนใบเดียวลูก (แต่ไม่ได้แปลว่าแม่ไม่อยากให้ลูกแต่งกะตาคนนี้นะ) มันไม่ทันแล้วอ่ะค่ะคุณแม่ ผมหนูหงอกแล้ว ขบวนสุดท้ายแล้วอ่ะค่ะ ฮ่าฮ่า
หมายเหตุ ใบเสร็จรับเงิน(จากกรมการกงสุล) มีค่าอย่าทิ้ง ชิงโชคไม่ได้ แต่ตอนไปจดทะเบียนสมรส เจ้าหน้าที่ที่เขตขอดูค่า
Tip 1: โดยส่วนตัวคิดว่า ถ้ามีเวลารอ แม้จะนาน และไม่mind ที่จะเสียเงินสองเท่า ก็ขอรับเอกสารแบบด่วนเลยดีกว่าค่ะ เผื่อมีความผิดพลาดของเอกสาร จะได้แก้ไขกันเลย เพราะต่อให้เราส่งแบบไม่ด่วน แล้วเอกสารผิดพลาด เค้าก็ไม่รับรองให้นะคะ ตอนรับกลับก็คือการกลับเอาไปแก้ แล้วมาส่งใหม่เสียเวลาไปอีก
Tip 2: จะมีหลายเอเจ้นท์ ที่รับจ้างนะคะ คือแปลให้ด้วย และเอาไปยื่นให้ด้วย เค้าจะคิดเงินเราสามส่วน ส่วนแรกค่าแปล ส่วนที่สองค่ายื่น ส่วนที่สามค่ารับรองเอกสารของกรมการกงสุล ส่วนแรกกับส่วนที่สองขึ้นอยู่กับแต่ละเจ้า ส่วนที่สามต้องเท่ากันทุกเจ้า ไม่ด่วน เอกสารละ 200 ด่วน เอกสารละ 400 ต้นฉบับนับเป็นหนึ่ง คำแปลนับเป็นอีกหนึ่ง และถ้าจะจ้าง เราต้องขอใบเสร็จจากกรมการกงสุุลด้วยค่ะ
จ้างเค้าดีมั๊ย ส่วนตัวนะคะ ถ้าค่าแปลไม่เกินหน้าละห้าร้อย ค่ายื่นไม่เกิน ห้าร้อย คิดว่าจ้างไปเถอะค่ะ ห้าร้อยกับเวลาที่เราจะเสียไป มันคุ้มมาก เอาเวลาสี่ ห้าชั่วโมง ไปทำอย่างอื่นดีกว่ามั๊ย แต่ก็ต้องดูดีดีนะคะ คือตอนที่เรานั่งรอเนี่ย ผู้ชายสองคนที่นั่งอยู่ข้างหลัง เค้าทำอาชีพนี้ แล้วเค้าก็คุยกันประมาณว่า ร้านบางร้านก็ไม่มายื่นให้ลูกค้าเลย รอจนกว่าจะได้หลายๆเจ้าแล้วค่อยมาทีเดียว เพราะประหยัดค่าน้ำมัน ถ้าอยากจะจ้างจริงๆ เสียเวลาไปที่กรมการกงสุลนิดนึงค่ะ จะมีคนรอให้บริการเยอะมากๆ เลือกเอาเลย ข้อดีของการเลือกคนที่นี่ คือเรามั่นใจว่าเค้าไม่เอางานเราไปดองแน่ ยื่นให้เราเลยแน่นอน เราก็เอาเอกสารให้เค้า แล้วหายไปชอปปิ้งซักห้า หก ชั่วโมง กลับมารับ สบายกว่ากันเยอะค่ะ (ห้างเริ่ดๆ ที่ใกล้ศูนย์ราชการก็มีค่ะ ไปกินข้าว ดูหนัง แล้วค่อยกลับมารับเอกสาร สบาย)
มุมบ่น ทำไมต้องรับรองคำแปล ไม่ค่อยเข้าใจ ในเว็บของกงสุลบอกว่าเพื่อให้เป็นเอกสารที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ใกล้ๆตราประทับของกงสุลจะบอกว่า ไม่รับผิดชอบต่อการแปลที่ผิดพลาด อ้าว ยังไง แล้วถ้าสมมติเอกสารมันแปลผิดพลาด แต่มีตราประทับของกงสุล แล้วมันชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย งง
ถ้าไม่รับผิดชอบการแปลที่ผิด แล้วทำไมต้องนั่งรอเจ้าหน้าที่ตรวจคำแปลตั้งสองสามชั่วโมง บ่น แล้วที่นั่งตรวจอยู่เป็นนานสองนาน แล้วก็ให้เราแก้เนี่ย หลังจากนั้น มันก็ยังจะผิดอีกเหรอ บ่น บ่น บ่น
แล้วเอกสารจากสถานทูตอังกฤษ ทำไมกรมการกงสุลถึงมีสิทธิรับรอง เอกสารจากสถานทูต ไม่ชอบด้วยกฎหมายเหรอ งง ก็ได้แต่บ่นล่ะค่ะ ไม่ทำตามเค้า ก็ไม่ได้แต่งงานแน่นอน
หลังจากได้ เอกสาร Affirmation of freedom to marry พร้อมแสตมป์ (ราคาแพงสุดในสามโลก) มาจากสถานทูตอังกฤษแล้ว เราก็ต้องจัดการแปลเป็นภาษาไทย
*Note 1: ถ้าได้กลับไปอ่านขั้นที่หนึ่ง จะทราบว่า link ของสถานทูตอังกฤษ ณ เมษายน 2557 จะไม่ใช่
Affirmation of freedom to marry แล้ว เป็น Affirmation of Marital Status ถ้าเช็คกับสถานทูตได้แล้ว ว่าตกลงจะเอาอะไรกันแน่ ก็เอาตามนั้นนะคะ
ถ้าคุณเรียนจบจากนอก หรือ จบเอกอังกฤษ เอกการแปล ก็แปลเองเลยค่ะ เซ็นรับรองคำแปลถูกต้อง ก็เซ็นเองเลยค่ะ หรือถ้าไม่อยากเซ็นเอง ไปหาคนที่ตำแหน่งการงานน่าเชื่อถือมาเซ็นให้ก็ได้นะคะ
ถ้าใครไม่แน่ใจในความสามารถในการแปลของตัวเอง ก็ต้องหาจ้างเอาค่ะ ได้ข่าวตึกมหาทุน ใกล้สถานทูตอังกฤษ หรือ บ้านเรือนไทย ใกล้ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ก็มีรับแปล หรือ ไปแปลที่กรมการกงสุลได้เลยค่ะ เค้าจะมีเจ้าหน้าที่บริการ ราคาสูงกว่าข้างนอก แต่รับรองความถูกต้องตามแบบที่กรมการกงสุลจะเอาแน่นอน
หลังจากแปลเสร็จ ก็นำต้นฉบับภาษาอังกฤษที่รับรองโดยสถานทูตอังกฤษ และฉบับแปลภาษาไทย ไปรับรองที่กองสัญชาติฯ กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ
สถานทูตอังกฤษ มืออาชีพค่ะ หลังจากเราได้รับ Affirmation of freedom to marry คืนมาจากเจ้าหน้าที่ จะมีใบแทรกเป็นภาษาอังกฤษ กลับมาให้ค่ะ ว่าจะต้องเอาไปรับรองที่ไหน
*Note 2: ตอนที่เราทำเรื่อง บ้านเมืองไม่สงบเล็กน้อย กรมการกงสุล ย้ายที่ทำการชั่วคราวไปที่ Esplanade รัชดา ไกลบ้านมากกกกกก เปิด 8.00 - 16.00 เท่านั้น จะเอาเอกสารแบบด่วนรับกลับในวันเดียว รับแค่ 100 คนต่อวัน แต่ถ้าจะกลับมารับอีกสองวันทำการ ก็รับเอกสารถึงบ่ายสอง
ขอเแชร์ประสบการณ์วันที่ไปขอรับรองเอกสารนะคะ นานนนนนนนนน มาก เสียเวลาไปห้าชั่วโมง
ก่อนไปที่กรมการกงสุล ให้download เอกสารมากรอกก่อนเลยค่ะ จะได้ไม่ต้องไปเสียเวลากรอกที่นั่น
http://www.consular.go.th/main/th/form/1405/21210-คำร้องขอรับรองเอกสาร.html
ถ้าจะไปทำแทนว่าที่สามี ก็เอาภาษาไทย แล้วให้เค้าเซ็นมอบอำนาจในใบนั้นเลย แต่ถ้าว่าที่สามีจะไปเอง (เราก็ไปเป็นเพื่อนอยู่ดี) ก็ให้เอาภาษาอังกฤษ
เรื่องของเรื่องคือ คนที่จะขอรับรองเอกสารไม่ใช่เรานะคะ เพราะเอกสาร
Affirmation of freedom to marry เป็นชื่อของว่าที่สามี การเอาไปแปล และขอรับรอง จึงเป็นหน้าที่ของว่าที่สามี ถ้าเราไปทำให้ ก็คือการทำแทน จึงต้องมีการมอบอำนาจ
กรณีมอบอำนาจ
กรอกเอกสาร ภาษาไทย พร้อมลายเซ็นของว่าที่สามี มอบอำนาจให้เรา ดูตามเอกสารจะเข้าใจค่ะ
ก๊อปปี้เอกสารดังนี้(พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง)
- passport ของว่าที่สามี หน้าที่มีรูปและ หน้าวีซ่าล่าสุด 1 ชุด
- บัตรประชาชนของเรา 1 ชุด
วันไปต้องเอาpassport และบัตรประชาชนตัวจริงไปด้วย เจ้าหน้าที่ขอดู
- ใบเสร็จรับเงินจากสถานทูต ที่จ่ายค่าคำร้องขอAffirmation of freedom to marry เจ้าหน้าที่ขอดูค่ะ
กรณีว่าที่สามีไปเอง
กรอกเอกสารภาษาอังกฤษ
ก๊อปปี้เอกสารดังนี้(พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง)
- passport ของว่าที่สามี หน้าที่มีรูปและ หน้าวีซ่าล่าสุด 1 ชุด
วันไปต้องเอาตัวจริงไปด้วย เจ้าหน้าที่ขอดู
- ใบเสร็จรับเงินจากสถานทูต ที่จ่ายค่าคำร้องขอAffirmation of freedom to marry เจ้าหน้าที่ขอดูค่ะ
สรุปก่อนออกจากบ้าน ตรวจให้มั่นใจว่าหนึ่งชุดเอกสารต้องมีดังนี้
1. ใบคำร้อง
2. สำเนา passport ของว่าที่สามี หน้าที่มีรูปและ หน้าวีซ่าล่าสุด 1 ชุด พร้อมตัวจริง
3. และ / หรือ สำเนาบัตรประชาชนของเรา 1 ชุดพร้อมตัวจริง
4. Affirmation of freedom to marry ฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมคำแปลภาษาไทย(เอาเฉพาะตัวจริง ไม่ต้องถ่ายเอกสาร)
5. ใบเสร็จรับเงินจากสถานทูต ที่จ่ายค่าคำร้องขอAffirmation of freedom to marry
เราไปถึงที่กรมการกงสุลตั้งแต่ เจ็ดโมงสามสิบห้า มีคนต่อแถวรอที่หน้าประตูแล้ว เกือบสามสิบคน มีคนนั่งรอตามเก้าอี้อีกเกือบยี่สิบ เราเลยไปยืนต่อแถว
ยืนไปจนถึงแปดโมงห้านาที ประตูเปิด เดินเข้าไปก็เจอเจ้าหน้าที่นั่งรอตรวจความเรียบร้อยของเอกสาร และให้บัตรคิว คนที่่รอรับเลย จะได้คิวสีชมพู คนที่จะรับกลับอีกสองวันข้างหน้าจะได้คิวสีฟ้า จุดนี้ใช้เวลาไม่เกินห้านาที ตอนนั้นคิดในใจ ดีจังเร็วจัง แป๊บเดียวคงได้กลับบ้าน หารู้ไม่
(คนที่จะรับกลับอีกสองวันข้างหน้า รอจ่ายเงิน รับใบเสร็จ แล้วกลับได้เลย จุดนี้ ไม่เกินครึ่งชั่วโมง)
หลังจากนั้นก็ไปนั่งรอ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจความถูกต้องของคำแปล ณ จุดนี้ งง นิดหน่อย เพราะว่าเห็นคนที่ได้คิวหลังเรา แต่ได้เอกสารกลับออกมาก่อน ส่วนใหญ่เพื่อให้เอามาแก้ ก็เลยงงว่า เจ้าหน้าที่เค้ามีขั้นตอนการตรวจยังไง ไม่ตรวจตามคิวเหรอ หรือว่า เอกสารง่ายๆ ตรวจก่อน งง นั่งรอไปก็งงไป อยากวีนก็ไม่รู้จะวีนยังไง กับใคร เลยหายใจเข้าหายใจออกลึกๆ แล้วอ่านหนังสือไป
ตอนนั้นก็พยายามมองโลกในแง่ดี คิดว่า เออ ของเรานานคงแปลว่า ทุกอย่างโอเค แต่ปล๊าววว (เสียงสูงมาก) เก้าโมงสิบห้า เจ้าหน้าที่ เรียกชื่อเรา บอกว่ามีแก้ไข ตามดินสอซึ่งวงไว้ (เยอะมาก) เอาละเหวย ทำยังไงดี จะกลับไปแก้ที่บ้านเหรอ ไกลมากเลยนะ เก้าโมงกว่า รถติดแล้วด้วย เลยตัดสินใจเดินไปที่เคาน์เตอร์รับแปลของกรมการกงสุล เสียไปห้าร้อยบาท จริงๆก็มีคนรับแปล เดินเต็ดเตร่ กระซิบเบาๆกับผู้คนแถวนั้นว่ารับแปล แต่ตอนเรานั่งรอ เห็นเจ้าหน้าที่เดินเอาออกมาให้ตาคนนั้นแก้ เราเลยไม่ไว้ใจ
(จริงๆที่เราแปลไปก็ไม่ได้ผิดในแง่ของเนื้อหา แต่ไม่ครบมากกว่า คือต้องมีคำว่า คำแปลอยู่บนหัวกระดาษ และจะเอาคำแปลทุกอณูในเอกสารค่ะ ต้องแปลแม้แต่ แสตมป์ ซึ่งต้องเรียกว่าตราประทับ ต้องบอกด้วยว่ามันนูนไม่นูน วันที่ในตราประทับ ก็ยังต้องใส่ไป ลายเซ็นก็ยังต้องใส่ แต่ห้ามเซ็นใหม่ และให้เขียนว่า ลายมือชื่อ พวก disclaimer ใต้แสตมป์ก็ต้องแปล คือทุกสิ่งที่เห็นจริงๆ เดี๋ยวจะพยายามแปะตัวอย่างให้ดูดีกว่า เผื่อจะเอาไปใช้ได้นะคะ)
ตัวอย่างการแปลที่เห็น คือการแปลโดยเจ้าหน้าที่แผนกรับแปลของกรมการกงสุลค่ะ รับรองได้ว่าเป็นแบบที่กงสุลต้องการแน่นอน
รอเค้าแปลไปสี่สิบห้านาที ก็เอากลับไปส่งที่เดิมตอนนั้นสิบโมงกว่าแล้ว ก็รอเค้ากลับไปตรวจใหม่อีกรอบ อีกครึ่งชั่วโมงก็กลับออกมา และเอาเอกสารไปส่งเจ้าหน้าที่เพื่อจ่ายเงิน ก็รอเอาใบเสร็จรับเงิน เสียไปแปดร้อยบาท ค่ารับรองเอกสารจะเอกสารละ สองร้อยบาท ไม่ด่วน ถ้าด่วนก็สี่ร้อย ของเรามีสองแผ่น ภาษาไทย และอังกฤษ ก็เป็นแปดร้อยบาท จุดนี้ก็รอรับกือบครึ่งชั่วโมง ได้ใบเสร็จตอนสิบเอ็ดโมงนิดๆ พร้อมกับเสียงสวรรค์จากเจ้าหน้าที่ว่า อีกสองชั่วโมงมารับนะครับ นานได้อีก
โชคดีที่ตอนนั้นกรมการกงสุลอยู่ที่เอสพลานาด เดินห้างสองชั่วโมงไม่ใช่เรื่องยาก เสียอย่างเดียวเอสพลานาดไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจให้เดิน แต่ก็ยังลากขาไปมาจนสองชั่วโมงจนได้ กลับมารับตอนอีกห้านาทีบ่ายโมง ได้เอกสารอันเดิมกลับมาพร้อมสติกเกอร์จากกรมการกงสุล พร้อมลายเซ็น แปะมาแผ่นละอัน เดินกลับออกมา ยิ้มแก้มปริ จะได้แต่งงานแล้วเว้ยยยย
ณ จุดนี้ เสียเงินไปแล้ว เกือบห้าพันบาท เพื่อเอกสารสองแผ่น แม่บอกว่า ถ้าแต่งกับคนไทย บัตรประชาชนใบเดียวลูก (แต่ไม่ได้แปลว่าแม่ไม่อยากให้ลูกแต่งกะตาคนนี้นะ) มันไม่ทันแล้วอ่ะค่ะคุณแม่ ผมหนูหงอกแล้ว ขบวนสุดท้ายแล้วอ่ะค่ะ ฮ่าฮ่า
หมายเหตุ ใบเสร็จรับเงิน(จากกรมการกงสุล) มีค่าอย่าทิ้ง ชิงโชคไม่ได้ แต่ตอนไปจดทะเบียนสมรส เจ้าหน้าที่ที่เขตขอดูค่า
Tip 1: โดยส่วนตัวคิดว่า ถ้ามีเวลารอ แม้จะนาน และไม่mind ที่จะเสียเงินสองเท่า ก็ขอรับเอกสารแบบด่วนเลยดีกว่าค่ะ เผื่อมีความผิดพลาดของเอกสาร จะได้แก้ไขกันเลย เพราะต่อให้เราส่งแบบไม่ด่วน แล้วเอกสารผิดพลาด เค้าก็ไม่รับรองให้นะคะ ตอนรับกลับก็คือการกลับเอาไปแก้ แล้วมาส่งใหม่เสียเวลาไปอีก
Tip 2: จะมีหลายเอเจ้นท์ ที่รับจ้างนะคะ คือแปลให้ด้วย และเอาไปยื่นให้ด้วย เค้าจะคิดเงินเราสามส่วน ส่วนแรกค่าแปล ส่วนที่สองค่ายื่น ส่วนที่สามค่ารับรองเอกสารของกรมการกงสุล ส่วนแรกกับส่วนที่สองขึ้นอยู่กับแต่ละเจ้า ส่วนที่สามต้องเท่ากันทุกเจ้า ไม่ด่วน เอกสารละ 200 ด่วน เอกสารละ 400 ต้นฉบับนับเป็นหนึ่ง คำแปลนับเป็นอีกหนึ่ง และถ้าจะจ้าง เราต้องขอใบเสร็จจากกรมการกงสุุลด้วยค่ะ
จ้างเค้าดีมั๊ย ส่วนตัวนะคะ ถ้าค่าแปลไม่เกินหน้าละห้าร้อย ค่ายื่นไม่เกิน ห้าร้อย คิดว่าจ้างไปเถอะค่ะ ห้าร้อยกับเวลาที่เราจะเสียไป มันคุ้มมาก เอาเวลาสี่ ห้าชั่วโมง ไปทำอย่างอื่นดีกว่ามั๊ย แต่ก็ต้องดูดีดีนะคะ คือตอนที่เรานั่งรอเนี่ย ผู้ชายสองคนที่นั่งอยู่ข้างหลัง เค้าทำอาชีพนี้ แล้วเค้าก็คุยกันประมาณว่า ร้านบางร้านก็ไม่มายื่นให้ลูกค้าเลย รอจนกว่าจะได้หลายๆเจ้าแล้วค่อยมาทีเดียว เพราะประหยัดค่าน้ำมัน ถ้าอยากจะจ้างจริงๆ เสียเวลาไปที่กรมการกงสุลนิดนึงค่ะ จะมีคนรอให้บริการเยอะมากๆ เลือกเอาเลย ข้อดีของการเลือกคนที่นี่ คือเรามั่นใจว่าเค้าไม่เอางานเราไปดองแน่ ยื่นให้เราเลยแน่นอน เราก็เอาเอกสารให้เค้า แล้วหายไปชอปปิ้งซักห้า หก ชั่วโมง กลับมารับ สบายกว่ากันเยอะค่ะ (ห้างเริ่ดๆ ที่ใกล้ศูนย์ราชการก็มีค่ะ ไปกินข้าว ดูหนัง แล้วค่อยกลับมารับเอกสาร สบาย)
มุมบ่น ทำไมต้องรับรองคำแปล ไม่ค่อยเข้าใจ ในเว็บของกงสุลบอกว่าเพื่อให้เป็นเอกสารที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ใกล้ๆตราประทับของกงสุลจะบอกว่า ไม่รับผิดชอบต่อการแปลที่ผิดพลาด อ้าว ยังไง แล้วถ้าสมมติเอกสารมันแปลผิดพลาด แต่มีตราประทับของกงสุล แล้วมันชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย งง
ถ้าไม่รับผิดชอบการแปลที่ผิด แล้วทำไมต้องนั่งรอเจ้าหน้าที่ตรวจคำแปลตั้งสองสามชั่วโมง บ่น แล้วที่นั่งตรวจอยู่เป็นนานสองนาน แล้วก็ให้เราแก้เนี่ย หลังจากนั้น มันก็ยังจะผิดอีกเหรอ บ่น บ่น บ่น
แล้วเอกสารจากสถานทูตอังกฤษ ทำไมกรมการกงสุลถึงมีสิทธิรับรอง เอกสารจากสถานทูต ไม่ชอบด้วยกฎหมายเหรอ งง ก็ได้แต่บ่นล่ะค่ะ ไม่ทำตามเค้า ก็ไม่ได้แต่งงานแน่นอน
จะแต่งงานกะชาวต่างชาติ ยุ่งแท้หนอ (เอกสารขั้นแรก)
หลังจากตกลงปลงใจ
ว่ายังไงก็จะอยู่ด้วยกันไปชั่วชีวิต พ่อหนุ่มตาน้ำข้าวก็ชวนแต่งงาน
แต่พิธียังมีปีนี้ไม่ได้ เพราะติดขัดหลายประการ พ่อหนุ่มเลยชวนไปจดทะเบียน
(ไม่รู้กลัวใครเปลี่ยนใจ อิอิ)
และแล้ว ความเหนื่อยก็เกิดขึ้นมาในบัดดล
ขั้นแรก ว่าที่สามีของอิชั้น ต้องไปขอใบรับรองความเป็นโสด ที่สถานทูตอังกฤษ ที่ประเทศไทยเรานี่เอง (เราอยู่ที่กรุงเทพค่ะ)
วิธีการก็คือ ก่อนไปให้ พิมพ์ Affirmation of freedom to marry ตามข้อมูลของตัวเอง
อย่าเซ็นชื่อในเอกสารนะคะ ต้องไปเซ็นต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น
อ่านเพิ่มเติมได้จากทีนี่ค่ะ
https://www.gov.uk/government/publications/information-for-british-nationals-intending-to-marry-in-thailand
เตรียม Affirmation of freedom to marry พร้อม passport ตัวจริง และ สำเนา หน้าที่มีรูป และ หน้าวีซ่าล่าสุด เอาสำเนาไปซักสองชุด ก็ดีค่ะ เผื่อเหลือเผื่อขาด
ไปที่สถานทูตตรงเพลินจิต พร้อมเงินค่าธรรมเนียม (มีค 57) เราจ่ายไปเกือบๆ 3700 บาท เพื่อลายเซ็น 1 ลายเซ็นและ แสตมป์ลายนูนๆหนึ่งอัน (ขอบ่น-- แพงเหลือเกิน)
ตอนเข้าไปในสถานทูต เค้าห้ามใช้มือถือ หรืออุปกรณ์ electronic ทุกชนิดนะคะ บอกว่าที่คุณสามีไว้ว่า กรุณาจดข้อมูลที่สำคัญใส่กระดาษไป เช่น บ้านเลขที่ตัวเอง ในไทย เบอร์โทรศัพท์ ตัวเอง เบอร์โทรศัพท์ บุคคลที่ติดต่อได้ (เช่นเบอร์เรา) เบอร์พ่อแม่ ที่อังกฤษ ประมาณนี้ค่ะ พ่อหนุ่มของดิช้าน จดทุกอย่างในโทรศัพท์ พอเอาโทรศัพท์เข้าไปไม่ได้ ก็อึ้งอยู่เป็นนาน นั่งระลึกอยู่นานมากกกกก พอตอนออกมาเจอกัน (พอดีไม่ได้เข้าไปด้วย) ก็แอบบอกว่า ใส่ผิดมั่งหรือเปล่าไม่รู้ (เฮ้อออออ)
หลังจากได้เอกสาร Affirmation of freedom to marry มาจากสถานทูตแล้ว ขั้นต่อไปก็คือเอาไปแปล และรับรองจากกรมการกงสุลค่ะ ใบเสร็จรับเงินจากสถานทูต อย่าทำหาย อย่าทิ้ง เพราะตอนไปกรมการกงสุล เจ้าหน้าที่ขอดูค่ะ
Tip 1: เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา ให้ว่าที่คุณสามี ส่ง email Affirmation of freedom to marry หาตัวเอง กรณีพิมพ์ผิด (เหมือนพ่อหนุ่มของดิช้าน เฮ้อ) ที่สถานทูตมีคอมพิวเตอร์ให้ค่ะ จะได้แก้ไขนิดเดียว ไม่เสียเวลาพิมพ์ใหม่หมด
Tip 2: สำหรับคนที่มีความสามารถเรื่องภาษา ให้ทำเอกสารฉบับแปลที่เป็นภาษาไทยไปเลยค่ะ แต่ถ้าไม่มั่นใจ ก็รอให้ได้เอกสารภาษาอังกฤษกลับมาก่อนก็ได้ค่ะ เผื่อมีผิดพลาด เอกสารฉบับแปลไม่ได้ใช้ที่สถานทูตนะคะ ต้องเอาไปที่กรมการกงสุล เดี๋ยวเล่าอย่างละเอียดในขั้นสองนะคะ
Tip 3: สถานทูตอังกฤษ เปิด 8.30 ไปตั้งแต่เปิดก็ดีค่ะ เผื่อติดขัดอะไร จะได้ทำเรื่องให้เสร็จก่อนเที่ยง
พ่อหนุ่มบอกว่า เจ้าหน้าที่บริการดี สุภาพ และ เป็นมืออาชีพมาก ตอนที่พ่อหนุ่มไป เป็นวันจันทร์ ถึงสถานทูตเกือบสิบโมง พิมพ์เอกสารผิด แก้เอกสารใหม่หมด แต่ก็ยังได้เอกสาร พร้อมแสตมป์คืนประมาณเที่ยงนิดๆค่ะ ไม่มีคำแนะนำ ว่าควรจะไปวันอะไร เพราะมันเอาแน่เอานอนไม่ได้ แล้วแต่ดวง ว่าวันที่เราไปจะคนเยอะหรือเปล่า
Note: ตอนที่เราเตรียมเอกสาร คลิกที่ลิงค์นี้ จะเป็น Affirmation of freedom to marry ซึ่งเราก็ทำตามเอกสารที่ลิงค์มี แต่หลังจากเราเตรียมเอกสารเสร็จ กลับเข้าไปลิงค์นี้ใหม่ เพื่อจะเขียนบล๊อกนี้ เรากลับได้ เอกสารอีกอันนึง
เอกสาร แรก Information for British nationals intending to marry in Thailand
พูดถึง Affirmation of freedom to marry แต่เอกสารแนบอีกอัน ดั๊นกลายเป็น
Specimen of Affirmation of Marital Status
อันนี้ก็ต้องขออนุญาต เช็คกับสถานทูตโดยตรงเลยค่ะ ว่าตกลงเอายังไงกันแน่
และแล้ว ความเหนื่อยก็เกิดขึ้นมาในบัดดล
ขั้นแรก ว่าที่สามีของอิชั้น ต้องไปขอใบรับรองความเป็นโสด ที่สถานทูตอังกฤษ ที่ประเทศไทยเรานี่เอง (เราอยู่ที่กรุงเทพค่ะ)
วิธีการก็คือ ก่อนไปให้ พิมพ์ Affirmation of freedom to marry ตามข้อมูลของตัวเอง
อย่าเซ็นชื่อในเอกสารนะคะ ต้องไปเซ็นต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น
อ่านเพิ่มเติมได้จากทีนี่ค่ะ
https://www.gov.uk/government/publications/information-for-british-nationals-intending-to-marry-in-thailand
เตรียม Affirmation of freedom to marry พร้อม passport ตัวจริง และ สำเนา หน้าที่มีรูป และ หน้าวีซ่าล่าสุด เอาสำเนาไปซักสองชุด ก็ดีค่ะ เผื่อเหลือเผื่อขาด
ไปที่สถานทูตตรงเพลินจิต พร้อมเงินค่าธรรมเนียม (มีค 57) เราจ่ายไปเกือบๆ 3700 บาท เพื่อลายเซ็น 1 ลายเซ็นและ แสตมป์ลายนูนๆหนึ่งอัน (ขอบ่น-- แพงเหลือเกิน)
ตอนเข้าไปในสถานทูต เค้าห้ามใช้มือถือ หรืออุปกรณ์ electronic ทุกชนิดนะคะ บอกว่าที่คุณสามีไว้ว่า กรุณาจดข้อมูลที่สำคัญใส่กระดาษไป เช่น บ้านเลขที่ตัวเอง ในไทย เบอร์โทรศัพท์ ตัวเอง เบอร์โทรศัพท์ บุคคลที่ติดต่อได้ (เช่นเบอร์เรา) เบอร์พ่อแม่ ที่อังกฤษ ประมาณนี้ค่ะ พ่อหนุ่มของดิช้าน จดทุกอย่างในโทรศัพท์ พอเอาโทรศัพท์เข้าไปไม่ได้ ก็อึ้งอยู่เป็นนาน นั่งระลึกอยู่นานมากกกกก พอตอนออกมาเจอกัน (พอดีไม่ได้เข้าไปด้วย) ก็แอบบอกว่า ใส่ผิดมั่งหรือเปล่าไม่รู้ (เฮ้อออออ)
หลังจากได้เอกสาร Affirmation of freedom to marry มาจากสถานทูตแล้ว ขั้นต่อไปก็คือเอาไปแปล และรับรองจากกรมการกงสุลค่ะ ใบเสร็จรับเงินจากสถานทูต อย่าทำหาย อย่าทิ้ง เพราะตอนไปกรมการกงสุล เจ้าหน้าที่ขอดูค่ะ
Tip 1: เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา ให้ว่าที่คุณสามี ส่ง email Affirmation of freedom to marry หาตัวเอง กรณีพิมพ์ผิด (เหมือนพ่อหนุ่มของดิช้าน เฮ้อ) ที่สถานทูตมีคอมพิวเตอร์ให้ค่ะ จะได้แก้ไขนิดเดียว ไม่เสียเวลาพิมพ์ใหม่หมด
Tip 2: สำหรับคนที่มีความสามารถเรื่องภาษา ให้ทำเอกสารฉบับแปลที่เป็นภาษาไทยไปเลยค่ะ แต่ถ้าไม่มั่นใจ ก็รอให้ได้เอกสารภาษาอังกฤษกลับมาก่อนก็ได้ค่ะ เผื่อมีผิดพลาด เอกสารฉบับแปลไม่ได้ใช้ที่สถานทูตนะคะ ต้องเอาไปที่กรมการกงสุล เดี๋ยวเล่าอย่างละเอียดในขั้นสองนะคะ
Tip 3: สถานทูตอังกฤษ เปิด 8.30 ไปตั้งแต่เปิดก็ดีค่ะ เผื่อติดขัดอะไร จะได้ทำเรื่องให้เสร็จก่อนเที่ยง
พ่อหนุ่มบอกว่า เจ้าหน้าที่บริการดี สุภาพ และ เป็นมืออาชีพมาก ตอนที่พ่อหนุ่มไป เป็นวันจันทร์ ถึงสถานทูตเกือบสิบโมง พิมพ์เอกสารผิด แก้เอกสารใหม่หมด แต่ก็ยังได้เอกสาร พร้อมแสตมป์คืนประมาณเที่ยงนิดๆค่ะ ไม่มีคำแนะนำ ว่าควรจะไปวันอะไร เพราะมันเอาแน่เอานอนไม่ได้ แล้วแต่ดวง ว่าวันที่เราไปจะคนเยอะหรือเปล่า
Note: ตอนที่เราเตรียมเอกสาร คลิกที่ลิงค์นี้ จะเป็น Affirmation of freedom to marry ซึ่งเราก็ทำตามเอกสารที่ลิงค์มี แต่หลังจากเราเตรียมเอกสารเสร็จ กลับเข้าไปลิงค์นี้ใหม่ เพื่อจะเขียนบล๊อกนี้ เรากลับได้ เอกสารอีกอันนึง
เอกสาร แรก Information for British nationals intending to marry in Thailand
พูดถึง Affirmation of freedom to marry แต่เอกสารแนบอีกอัน ดั๊นกลายเป็น
Specimen of Affirmation of Marital Status
อันนี้ก็ต้องขออนุญาต เช็คกับสถานทูตโดยตรงเลยค่ะ ว่าตกลงเอายังไงกันแน่
Subscribe to:
Posts (Atom)